21.+ & - for Prototype

   
 


 

 

Home

Board-Forum-Diary

Administrator

ASP

Business Manage

Computer Basic

Computer Hardware

Computer Software

Computer Tip

Computer Virus

Contact

Database

Firefox

Gallery

Game

HI5 ME!

Link

Project Demo

System Analysis

=> 1.basic

=> 2.important

=> 3.Life Cycle

=> 4.Survey System

=> 5.DFD components

=> 6.DFD to write

=> 7.DFD create

=> 8.Data Dictionary

=> 9.Process Description

=> 10.Flowchart

=> 11.Design Output

=> 11.Selection Output

=> 12.Design Print Report

=> 13.Design Output Monitor

=> 14.Design Input

=> 15.Design Database

=> 16.Security System

=> 17.Repeat System

=> 18.Prototype

=> 19.Type Prototype

=> 20.Line Dev Prototype

=> 21.+ & - for Prototype

=> 22.Check Plan

Website

Food & Drink

SkyDrive

MS-word

MS-excel

Mobile

Drug

Clock

Car & Motorcycle

Download

 


     
 

ข้อดีข้อเสียของการทำโปรโตไทป์
ข้อดีของการทำโปรโตไทป์
1. นักวิเคราห์ระบบสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขระบบได้ในระหว่างตอนต้น ๆ ของการพัฒนา
สิ่งหนึ่งที่นักวิเคราะห์ระบบเสื่อมเสียไม่ได้เลยคือ โปรโตไทป์ที่นำมาใช้เป็นแม่แบบของระบบงานจริงนั้น จะสมบูรณ์ได้ขึ้นอยู่กับการอุทิศเวลาของผู้ใช้ระบบที่จะเข้ามาช่วยให้คำแนะนำต่าง ๆ ที่นำไปใช้ในการแก้ไขระบบงาน เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริงให้ได้ ดังนั้นความพยายามที่จะแก้ไขระบบงานตั้งแต่เนิ่น ๆ ย่อมจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า ความพยายามที่จะแก้ไขระบบงานภายหลังจากที่ได้พัฒนาไปจนเสร็จสิ้นแล้ว

2. นักวิเคราะห์ระบบสามารถขจัดระบบที่ไม่จำเป็นออก
ในระหว่างการรวบรวมความต้องการของผู้ใช้ระบบ หากผู้ใช้ระบบและนักวิเคราะห์ระบบเห็นว่า โปรโตไทป์ใดไม่เป็นที่ต้องการก็ สามารถยกเลิกได้แต่เนิ่น ๆ ผิดกับการพัฒนาระบบใดไปแล้ว เมื่อยกเลิกก้ค่อนข้างจะสิ้นเปลือง

3. นักวิเคราะห์ระบบสามารถดีไซน์ระบบให้เหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ระบบมากขึ้น
การทำโพรโตไทป์เท่ากับเป็นการติดตามความต้องการของผู้ใช้ระบบอยู่ตลอดการพัฒนา ทำให้นักวิเคราะห์สามารถดีไซน์ระบบงานได้ถูกต้องยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถดีไซน์ระบบงาน เผื่อไว้สำหรับการขยับขยายในอนาคตได้อีกด้วย

ข้อเสียของการทำโปรโตไทป์
1. ยากแก่การบริหารโครงการ

แม้ว่านักวิเคราะห์ระบบจะยอมรับว่าการแก้ไขโพรโตไทป์เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการพัฒนาระบบงาน อย่างไรก็ตามการแก้ไขโปรโตไทป์แบบไม่จำกัดก็คงจะก่อให้เกิดปัญหาต่อการบริหารโครงการ (Project management) ทั้งโครงการก็ได้

2. นักวิเคราะห์ระบบอาจเข้าใจผิดคิดว่าระบบงานสมบูรณ์แล้ว
ในบางครั้งหากผู้ใช้ระบบยอมรับโปรโตไทป์เป็นอย่างดี จะทำให้นักวิเคราะห์ระบบเข้าใจไขว้เขวว่าโปรโตไทป์นั้นสมบูรณ์แล้ว ไม่จำเป็นต้องทบทวนอะไรอีก และนำโปรโตไทป์นั้นไปเป็นแม่แบบในการดีไซน์ระบบงานจริง ในระยะเวลาไม่นานนัก ระบบงานที่มาติดตั้งจากแนวความคิดนี้อาจก่อให้เกิดความผิดหวังแก่หลายๆ ฝ่ายได้ เนื่องจากโปรโตไทป์ไม่ใช่ระบบที่ไม่ สมบูรณ์ แต่เป็นเพียงการนำเอาหน้าที่สำคัญบางประการมาให้ผู้ใช้ ระบบได้ทดลองดูเท่านั้น ส่วนที่เหลือผู้ใช้ระบบยังไม่รู้ ไม่เห็น

การติดตั้งระบบงาน
เมื่อนักวิเคราะห์ระบบได้ผ่านขั้นตอนของการวิเคราะห์และการดีไซน์ระบบงานซึ่งเป็น 2 ขั้นตอนใหญ่ ๆ เรียบร้อยแล้ว ระบบงานได้ถูกพัฒนาและทดสอบเป็นอย่างดีจากทีมงาน จนมีความเชื่อมั่นว่าระบบงานจะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ ดังนั้น ในขั้นตอนต่อไปจึงเป็นขั้นตอนของการติดตั้งระบบงาน (system implementation)

การวางแผนการติดตั้งระบบงาน
ซอฟแวร์ที่ติดตั้ง
ในส่วนของการติดตั้งซอฟต์แวร์นี้ เราจะสนใจเฉพาะว่า อะไร ที่จะต้องติดตั้งให้ผู้ใช้และจะทำอย่างไร เพื่อให้การติดตั้งสำเร็จ ลงได้ ดังนั้น ในขั้นนี้นักวิเคราะห์ระบบจะคำนึงถึงว่าอะไรบ้างที่เขาจะต้องนำไปติดตั้ง นักวิเคราะห์จะต้องจัดทำแผนงานการติด ตั้งเป็นลายลักษณ์อักษร และกระจายหน้าที่ความรับผิดชอบให้กับทีมงาน และร่วมกันประชุมอีกครั้งก่อนที่จะนำเอาแผนงานไป ปฏิบัติจริง

วิธีการที่ติดตั้ง
1.การติดตั้งแบบทันทีหรือโดยตรง
2.การติดตั้งแบบขนาน
3.การติดตั้งแบบทยอยเข้า
4.การติดตั้งแบบมอดูลาร์โปรโตไทป์
5.การติดตั้งแบบกระจาย

การติดตั้งแบบทันทีหรือโดยตรง
หมายถึง เมื่อถึงวันที่ได้กำหนดไว้ ระบบงานเก่าจะถูกยกเลิก และระบบงานใหม่จะเริ่มใช้ปฏิบัติการได้ทันที การติดตั้งแบบนี้จะได้ผลผลิตต่อเมื่อ ระบบงานได้รับการทดสอบอย่างหนักก่อนที่จะถูกนำมาติดตั้ง นอกจากนี้การติดตั้งลักษณะนี้ยังเหมาะต่อเหตุการณ์ที่ว่าหาก กำหนดการติดตั้งระบบเกิดการล่าช้าแล้วจะส่งผลกระทบต่อบริษัทฯ หรือธุรกิจผู้ใช้อย่างมาก โดยในบางลักษณะการติดตั้งแบบทันทีเกิดจากการบังคับใช้ของรัฐบาล

การติดตั้งแบบขนาน
หมายถึง การที่ระบบงานเก่ายังคงปฏิบัติอยู่พร้อม ๆกันกับระบบงานใหม่วิธีนี่จะเป็นทีนิยมกันมาก ที่สุดในปัจจุบัน แต่ก็มีแนวโน้มที่จะลดลงไป เนื่องจากใช้วิธีนั้จะเหมาะสมที่สุดเมื่อระบบงานเก่าเป็นระบบเก่าเป็รระบบที่ใช้คนทำ ในขณะที่ระบบงานใหม่จะเป้นระบบที่คอมพิวเตอร์ โดยระบบงานทั้งสองระบบจะนำมาควบคู่กันระยะเวลาหนึ่งเพื่อจะได้ทำการเปรัยบเทียบว่า ผลลัพธ์ที่ได้จากระบบคล้องจองกันเมื่อผลลัพธ์ได้รับการ ตรวจสอบแล้วว่าถูกต้องช่วงเวลาหนึ่ง ระบบงานเก่าจึงจะถูกยกเลิกออกไป เหลือ เพียงระบบงานใหม่เท่านั้น

การติดตั้งแบบทยอยเข้า
เป็นการรวมเอาข้อเด่นของ 2 วิธีแรก คือ แบบทันทีและแบบขนานเข้าไว้ด้วยกัน นั่นก็คือ วิธีนี้เป็นการทยอยนำเอาบางส่วนของระบบงานใหม่ ซึ่งอาจจะเป็นระบบงานย่อยเข้าไปแทนบางส่วนของระบบงานเดิม ซึ่งวิธีนี้จะทำให้อัตราเสียงของการเกิดข้อผิดพลาดลดน้อยลงกว่าการติดตั้งแบบทันที โดยผลกระทบจากข้อผิดพลาดจะอยู่ในวงจำกัดที่ควบคุมได้

การติดตั้งแบบมอดูลาร์โปรโตไทป์
เป็นการนำเอาหลักการโปรโตไทป์มาใช้ โดยจัดแยกออกเป็นมอดูล ย่อย ๆ แล้วผสมผสานกับวิธีการติดตั้งแบบทยอยเข้า โดยให้ผู้ใช้ระบบทดสอบใช้มอดูลที่ทำเป็นโปรโตไทป์ไปจนกว่ามอดูลนั้นจะเป็นมอดูลที่สมบูรณ ์และเป็นที่ยอมรับจากผู้ใช้ระบบ จึง ค่อยนำมาปฏิบัติงานจริง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการไม่คุ้นเคยระหว่างผู้ใช้กับระบบไปได้มาก

การติดตั้งแบบกระจาย
เป็นการติดตั้งระบบให้กับธุรกิจที่มีสาขามากกว่า 1 แห่ง เช่นธนาคารต่าง ๆ โดยการติดตั้งครั้งแรกในสาขาหนึ่งจะทำโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ใน 4 วิธีแรก จากนั้นเมื่อการติดตั้งในสาขาแรกเป็นไปอย่างสมบูรณ์และทดสอบอย่างแล้ว จึงค่อยดำเนินการติดตั้งต่อ ไปในสาขาอื่น ๆ

 
 

Total, there have been 250726 visitors (515214 hits) on this page!

 

 
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free