12.Design Print Report

   
 


 

 

Home

Board-Forum-Diary

Administrator

ASP

Business Manage

Computer Basic

Computer Hardware

Computer Software

Computer Tip

Computer Virus

Contact

Database

Firefox

Gallery

Game

HI5 ME!

Link

Project Demo

System Analysis

=> 1.basic

=> 2.important

=> 3.Life Cycle

=> 4.Survey System

=> 5.DFD components

=> 6.DFD to write

=> 7.DFD create

=> 8.Data Dictionary

=> 9.Process Description

=> 10.Flowchart

=> 11.Design Output

=> 11.Selection Output

=> 12.Design Print Report

=> 13.Design Output Monitor

=> 14.Design Input

=> 15.Design Database

=> 16.Security System

=> 17.Repeat System

=> 18.Prototype

=> 19.Type Prototype

=> 20.Line Dev Prototype

=> 21.+ & - for Prototype

=> 22.Check Plan

Website

Food & Drink

SkyDrive

MS-word

MS-excel

Mobile

Drug

Clock

Car & Motorcycle

Download

 


     
 

การดีไซน์การพิมพ์รายงาน
เนื่องจากการพิมพ์รายงานออกทางเครื่องพิมพ์ ยังคงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่งรายงานต่างๆ นักวิเคราะห์ระบบจะต้องดีไซน์ให้รายงานสามารถแสดงข้อมูลได้อย่างเพียงพอ และจัดให้เหมาะสมกับที่ผู้ใช้ระบบต้องการ

พื้นฐานของการรายงาน

มีลักษณะพื้นฐานของการรายงานที่นักวิเคราะห์พึงทราบเป็นอย่างดีคือ ประเภทของข้อมูลที่ต้องแสดงในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งนั้นเป็นประเภทอะไร เช่น ตัวเลข หรือตัวอักษร และจะต้องใช้ความกว้างเท่ากับที่ตัวอักษรจึงจะเพียงพอ ในพื้นฐานของการรายงาน ข้อมูลที่เราจะแสดงในรายงานสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ

1. ข้อมูลที่เป็นค่าคงที่ (Constant Information) หมายถึงข้อมูลที่จะต้องออกมาเหมือนกันทุกครั้งที่มีการพิมพ์รายงาน โดยปกตินักวิเคราะห์ระบบจะทำการดีไซน์รายงานลงในแบบฟอร์มที่ใช้สำหรับการดีไซน์รายงานซึ่งเรียกว่า Report Layout Form โดยข้อมูลที่เป็นค่าคงที่นั้น นักวิเคราะห์จะระบุด้วยซึ่งทุกครั้งที่ออกรายงานก็จะพิมพ์ข้อความที่เหมือนกันเช่นนี้โดยตลอด

2. ข้อมูลที่เป็นตัวแปร (Variable Information) หมายถึงข้อมูลที่อาจจะเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละครั้งที่มีการพิมพ์รายงาน ตัวอย่างเช่น ยอดขาย (Sales) กำไรขั้นต้น (Gross Profit) เป็นต้น หลักที่ปฏิบัติกันโดยทั่วไปที่ใช้ระบบประเภทของตัวแปรในเลย์เอาต์ฟอร์มก็คือ เรามักจะใช้ X แทนตัวแปรที่เป็นตัวอักษร (Character/String) และ 9 แทนตัวแปรที่เป็นตัวเลข ตัวอย่างเช่น หากต้องการพิมพ์ข้อมูลที่เป็นตัวแปรสำหรับลูกค้ารายหนึ่ง ซึ่งประกอบไปด้วยรหัสลูกค้า ชื่อลูกค้า และยอดสั่งซื้อต่อปีตามลำดับ โดยรหัสลูกค้าจะเป็นตัวอักษร 10 ตำแหน่ง และชื่อลูกค้าจะเป็นตัวอักษร 20 ตำแหน่ง และยอดสั่งซื้อจะเป็นตัวเลขหลักล้านที่มีจุดทศนิยม 2 ตำแหน่ง

การคำนวณความกว้างของรายงาน เนื่องจากเครื่องพิมพ์แต่ละชนิดมีขีดความสามารถในการพิมพ์รายงานไม่เหมือนกัน บางเครื่องสามารถพิมพ์รายงานได้มากกว่า 200 ตัวอักษร ในขณะที่บางเครื่องพิมพ์ได้ไม่ถึง 130 ตัวอักษร ดังนั้น เมื่อจะทำการดีไซน์รายงานทุกครั้ง นักวิเคราะห์ก็ควรที่จะทำการคำนวณโดยคร่าวๆ ว่าข้อมูลที่อยากจะให้พิมพ์ออกมานั้น พอดีกับความกว้างของหน้ากระดาษหรือไม่ และเครื่องพิมพ์สามารถพิมพ์ได้หรือ

ลำดับขั้นการดีไซน์รายงาน มี 11 ขั้นตามลำดับดังนี้
1. พิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของรายงาน
2. พิจารณาว่า ใครเป็นผู้ใช้รายงาน
3. พิจารณาว่า มีข้อมูลอะไรบ้างที่จะต้องแสดงหรือพิมพ์ในรายงาน
4. นับจำนวนช่องว่างและความกว้างของข้อมูลในฟิลด์เพื่อนำมาพิจารณาถึงขนาดของรายงานที่จะพิมพ์
5. ตั้งชื่อรายงาน
6. รายงานควรจะต้องมีการพิมพ์หมายเลขหน้าไว้เสมอ
7. ควรจะแสดงวันที่ที่พิมพ์รายงานไว้ในตัวรายงานด้วย
8. สำหรับหัวข้อรายงานในแต่ละแถว ควรใช้คำพูดที่ชัดเจน
9. ในแบบฟอร์มที่ใช้สำหรับการดีไซน์รายงาน ควรระบุชนิดของข้อมูลว่าเป็นตัวเลขหรือตัวอักษรให้ชัดเจน
10. ระบุตำแหน่งที่ใช้สำหรับพิมพ์ข้อความสรุปรายงาน เช่น ตำแหน่งต่างๆ ในบรรทัดของยอดรวมต่างๆ ในรายงาน
11. นำตัวอย่างที่ได้ออกแบบมาให้กับผู้ใช้รายงาน เพื่อตรวจดูอีกครั้ง เพื่อความถูกต้องว่ารายงานได้รับการดีไซน์ตรงตามวัตถุประสงค์ดีแล้วก่อนนำแบบไปเขียนโปรแกรมจริง

 

 
 

Total, there have been 272201 visitors (549149 hits) on this page!

 

 
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free