18.Prototype

   
 


 

 

Home

Board-Forum-Diary

Administrator

ASP

Business Manage

Computer Basic

Computer Hardware

Computer Software

Computer Tip

Computer Virus

Contact

Database

Firefox

Gallery

Game

HI5 ME!

Link

Project Demo

System Analysis

=> 1.basic

=> 2.important

=> 3.Life Cycle

=> 4.Survey System

=> 5.DFD components

=> 6.DFD to write

=> 7.DFD create

=> 8.Data Dictionary

=> 9.Process Description

=> 10.Flowchart

=> 11.Design Output

=> 11.Selection Output

=> 12.Design Print Report

=> 13.Design Output Monitor

=> 14.Design Input

=> 15.Design Database

=> 16.Security System

=> 17.Repeat System

=> 18.Prototype

=> 19.Type Prototype

=> 20.Line Dev Prototype

=> 21.+ & - for Prototype

=> 22.Check Plan

Website

Food & Drink

SkyDrive

MS-word

MS-excel

Mobile

Drug

Clock

Car & Motorcycle

Download

 


     
 

ตัวต้นแบบ (Prototype) คืออะไร
คือ ระบบการทำงาน ที่ไม่ใช่เพียงแค่ความคิดที่อยู่บนกระดาษ แต่เป็นความคิดที่ถูกพัฒนาภายใต้สมมติฐานของระบบใหม่ อาจเทียบกับระบบที่มีคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐาน ประกอบด้วยโปรแกรมการทำงานที่รับข้อมูลเข้า มีกระบวนการคำนวณ การพิมพ์และการแสดงผลลัพธ์

ทำไมต้องมีการสร้างตัวต้นแบบ
ความต้องการสารสนเทศมักจะไม่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า ผู้ใช้อาจจะรู้เพียงว่าธุรกิจค้องปรับปรุง หรือรู้ว่าขบวนการทำงานต้องมีการเปลี่ยนแปลง หรือรู้เพียงว่าต้องการสารสนเทศ เพื่อใช้ในการบริหารที่ดีกว่า แต่บอกไม่ได้ว่าสารสนเทศคืออะไรตัวต้นแบบมักใช้ในรูปแบบของการทดสอบหรือเป็นการนำร่อง

เหตุผลหลักในการนำตัวต้นแบบมาใช้ มี 3 ข้อ
• เพื่อใช้เป็นเครื่องมือที่ทำให้รู้ถึงความต้องการของผู้ใช้ให้ชัดเจนมากขึ้น
• เพื่อใช้ในการตรวจสอบความเป็นไปได้ของการออกแบบระบบ ให้เห็นถึงผลกระทบของระบบที่ออกแบบ และหาทางเลือกใหม่เพื่อแก้ไขผลกระทบนั้น
• เพื่อใช้เป็นตัวแทนระบบที่ได้ออกแบบ ให้ผู้ใช้ได้ทดลองใช้งาน ให้นักวิเคราะห์ได้ประมาณเวลาและสิ่งที่ออกแบบต่อ

ประเภทข้อมูลที่ได้จากการทำโปรโตไทป์
นักวิเคราะห์ระบบสามารถนำเทคนิคการทำโปรโตไทป์ เพื่อใช้ในการค้นหาข้อมูลหรือความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้ระบบ เพื่อจะนำไปพัฒนาระบบให้สมบูรณ์ โดยการทำโปรโตไทป์ สามารถทำให้ผู้ใช้ทุก ๆ ระดับ คือตั้งแต่ระดับพนักงานเสมียนและผู้ให้บริการ (clerical and service staff) ไปจนถึงระดับผู้จัดการหรือผู้บริหาร (management) สามารถออกความเห็นเกี่ยวกับส่วนของระบบการทำงานที่ตนเองเกี่ยวข้องอยู่ว่ามีข้อคิดเห็นอย่างไร

โดยนักวิเคราะห์ระบบจะนำเอาความคิดเห็นต่าง ๆ มาแยกเป็นประเภทได้ 4 ประเภท ดังนี้

1. การตอบสนองของผู้ใช้ระบบที่มีต่อระบบงาน (initial user reactions)
นักวิเคราะห์ระบบสมารถรวบรวมปฏิกิริยาของผู้ใช้ จากการสังเกต การสัมภาษณ์ หรือการพูดคุย และจากแบบสอบถามที่นักวิเคราะห์ระบบได้จัดทำเอาไว้ ซึ่งจะพบความหลากหลายของปฏิกิริยาของผู้ใช้ที่มีต่อระบบ ทั้งนี้เพราะต่างคนต่างมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไป อาจมีทั้งความเต็มใจและต่อต้านระบบที่ติดตั้งใหม่เพราะผู้ใช้ระบบคิดว่าระบบงานใหม่นั้นจะไปแทนตัวเอง

2. ข้อเสนอแนะต่าง ๆของผู้ใช้ระบบ (user suggestions)
ข้อมูลที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่นักวิเคราะห์ระบบได้ในระหว่างการนำเสนอระบบ โดยการทำโปรโตไทป์ คือ ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ใช้ทั้งนี้เพราะผู้ใช้ต่างคนต่างมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะเหล่านี้จะเป็นตัวชี้ช่องให้นักวิเคราห์ระบบเห็นว่าควรจะจัดการอย่างไรในการพัฒนาระบบ เช่น การแก้ไข ปรับปรุง หรืออาจจะต้องโละทิ้ง แล้วทำใหม่ ที่มีความเหมาะสมและสามารถรองรับความต้องการของผู้ใช้ได้ดีที่สุด

3. ระบบใหม่ที่เกิดขึ้นภายหลัง(innovations)
ระบบใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการพัฒนาระบบโดยส่วนมากจะยังไม่มีใครพูดถึงหรือคิดถึงว่าควรจะมีระบบนี้เกิดขึ้น แต่เมื่อผู้ใช้และนักวิเคราะห์ระบบได้เข้าไปสัมผัสแล้ว ก็อาจเห็นว่าเป็นระบบที่มีความจำเป็นที่จะต้องทำการพัฒนาขึ้น เพื่อเพิ่มเติมความสมบูรณ์ของระบบที่กำลังพัฒนาอยู่

4. การทบทวนแผนงานและการพัฒนาระบบ (revision plans)
การทำโปรโตไทป์จะทำให้นักวิเคราะห์ระบบมองเห็นถึงระบบงานที่ควรจะต้องพัฒนาต่อไปในอนาคต ทำให้เกิดการทบทวนแผนงานต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลาซึ่งจะช่วยให้นักวิเคราะห์ระบบสามารถจัดลำดับความสำคัญของระบบว่าควรจะทำโปรโตไทป์ระบบใดก่อนหลัง

 

 
 

Total, there have been 272687 visitors (549763 hits) on this page!

 

 
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free