intel license

   
 


 

 

Home

Board-Forum-Diary

Administrator

ASP

Business Manage

Computer Basic

=> Hacker

=> Internet Fraud

=> Information Technology

=> Starter Business

=> E-commerce

=> logistic

=> logistic pk

=> intel license

=> Chat or SMS

=> Ascii

Computer Hardware

Computer Software

Computer Tip

Computer Virus

Contact

Database

Firefox

Gallery

Game

HI5 ME!

Link

Project Demo

System Analysis

Website

Food & Drink

SkyDrive

MS-word

MS-excel

Mobile

Drug

Clock

Car & Motorcycle

Download

 


     
 

ทรัพย์สินทางปัญญาบนอินเทอร์เน็ต

     การเติบโตของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ขยายตัวออกสู่ผู้ใช้หลายร้อยล้านคนทั่วโลก และการเพิ่มจำนวนของเว็บไซต์ ที่เป็นไปอย่างรวดเร็วได้ปฏิวัติวิธีการกระจายงานสร้างสรรค์ต่าง ๆ ไปยังผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตหลายร้อยล้านคนทั่วโลก ด้วยต้นทุน ที่ต่ำ การเติบโตนั้นนอกจากจะเป็นผลดีต่อการกระจายสินค้าหรือบริการ พร้อมทั้งงานสร้างสรรค์ต่าง ๆ แล้วยังทำให้การละเมิด ลิขสิทธิ์งานสร้างสรรค์มีการเจริญเติบโตและสลับซับซ้อนขึ้นเป็นเงาตามตัว

     ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ของเนปสเตอร์ (Napster) ที่เปิดโอกาสให้ผู้รักเสียงเพลงสามารถตกแต่งเพลงที่มีลิขสิทธิ์ตามใจ ปราถนาและแลกเปลี่ยนกันฟังได้ในหมู่สมาชิกที่มีอยู่มากกว่า 2 ล้านคนทั่วโลก ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายทุกอย่างสามารถค้นหาและ ได้มาฟรีจากอินเทอร์เนต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเว็บที่ประกาศตนว่าเป็น Warez software sites ซึ่งเป็นคำแสลง แต่บ่งบอกความหมาย ชัดเจนว่าเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการแต่ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ให้ผู้สนใจดาวน์โหลดได้ฟรี

     BAS (Business Software Alliance) กลุ่มพันธมิตรผู้ปกป้องผลประโยชน์ของผู้ผลิตซอฟต์แวร์ดัง ๆ ของโลก เช่น ไมโครซอฟท์ หรือ AutoDesk ได้ชี้ถึงสาเหตุของการเติบโตของเงามืดเหล่านี้ว่าส่วนใหญ่เป็นเพราะต้องการตอบสนองความต้องการ ของผู้กระทำหรือเพื่ออวดอ้างความสามารถในการถอดรหัสซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ให้ใช้งานได้ฟรี ความต้องการดังและรวยอาจเป็นอีก สาเหตุหนึ่งที่ทำให้การละเมิดงานสร้างสรรค์มีเพิ่มมากขึ้น (ได้ข่าวแว่ว ๆ มาว่าผู้ผลิตไวรัส lovebug ตอนนี้มีบริษัทอเมริกันแย่งซื้อตัว กันให้วุ่นวาย) BSA คาดการณ์ว่าเพียงมูลค่าความเสียหายของตลาดซอฟต์แวร์ที่โดนละเมิดลิขสิทธิ์อย่างเดียวก็มีมูลค่าสูงถึง 12,000 ล้านดอลลาร์ หรือ 504,000 ล้านบาท ไม่นับรวมการละเมิดงานสร้างสรรค์ประเภทอื่น ๆ ที่ถูกละเมิดโดยไม่สามารถตีเป็นมูลค่าความ เสียหายได้

     การเติบโตของวงการผู้นิยมละเมิดลิขสิทธิ์นับวันยิ่งทวีความรุนแรงพร้อมสั่งสมรูปแบบและวิธีการที่หลากหลายจนในบางครั้ง คุณอาจจะถูกละเมิดสิทธิ์หรือไปละเมิดสิทธิ์ผู้อ่านโดยไม่รู้ตัวก็เป็นได้

ลักษณะการละเมิด

      ด.ร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญทางไอทีและอีคอมเมิร์ซจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ได้ศึกษาเรื่อง "การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์" ไว้ว่าลักษณะปัญหาของการละเมิดลิขสิทธิ์ บนโลกอินเทอร์เน็ตนั้นมีลักษณะเกี่ยวข้องกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หลายประการคือ (สำหรับงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ผู้อ่านสามารถ ติดตามได้จากเว็บไซต์ทีดีอาร์ไอ www.tdri.or.th)

     1. การละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา เช่นความซ้ำซ้อนของเครื่องหมายการค้าหรือสิทธิบัตรข้ามประเทศ แต่เดิมหลักกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญายึดหลักดินแดน (Terriroriality Principle) กล่าวคือ การได้มาซึ่งสิทธิหรือการละเมิดสิทธิ ในทรัพย์สินทางปัญญาจะเกิดขึ้นเฉพาะในขอบเขตของประเทศหนึ่ง โดยไม่กระทบต่อประเทศอื่น ๆ แต่การค้าบนอินเทอร์เน็ตไม่มี ขอบเขต ไม่มีดินแดน ดังนั้น เครื่องหมายการค้าของบริษัทในประเทศหนึ่ง อาจมีการซ้ำซ้อนกับอีกบริษัทหนึ่งในอีกประเทศหนึ่ง โดยไม่จงใจ หรือโดยมีเจตนาได้

     ปัญหาขัดแย้งจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ประกอบการทั้งสองบริษัทต่างต้องการเปิดเว็บไซต์จำหน่ายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายทางการค้า เดียวกัน ตัวอย่างนี้เกิดขึ้นในโลกแห่งความจริงแล้วในประเทศหนึ่งในเขตอเมริการใต้ที่บริษัทขายน้ำดำแห่งหนึ่งไม่สามารถโฆษณา เครื่องหมายทางการค้าของตนเองได้ เนื่องจากศาลได้ตัดสินว่าบริษัทน้ำดำนี้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหลักจากบริษัทท้องถิ่น แห่งหนึ่งได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์นี้ไว้แล้ว

     2. ปัญหาการจดทะเบียนชื่อโดเมนเนม ชื่อโดเมนเนมนี้นอกจากจะเป็นเครื่องมือในการระบุตำแหน่งของเครื่อง คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแล้วยังเป็น Business Identifier อีกด้วยเช่น เป็นการบ่งบอกถึงประเภทสินค้าหรือ บริการที่เปิดอยู่ในเว็บไซต์เช่น เว็บไซต์ foodmarketexchange.com ซึ่งนอกจากจะบ่งบอกที่อยู่ (Address) แล้วยังบ่งบอก ถึงบริการที่ให้ คือเป็นตัวกลางในการซื้อขายและเปลี่ยนสินค้าประเภทอาหาร เป็นต้น ปัญหาการจดทะเบียนโดเมนเนมที่เข้าข่ายละเมิดสิทธิผู้อื่น คือการจดทะเบียนเพื่อมุ่งแสวงหากำไรในทางมิชอบ (Cyber Squatting) เช่น บริษัท BuySellThai.com จดทะเบียนบริษัทดัง ๆ หลายบริษัทและประมูลขาย เช่นจด tfbegril.com หรือ thaifarmerbank.com แล้วตั้งราคาขายเป็นต้น (เว็บไซต์จริงของธนาคารกสิกรไทยคือ tfb.co.th) นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนบางจำพวกที่ต้องการหวังรวยทางลัด เช่น บริษัท Yahoo Company ซึ่งจดทะเบียนกับกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ เลียนแบบชื่อบริษัทดอตคอมยักษ์ใหญ่ในอเมริกา และจดชื่อเว็บไซต์อย่างเป็นทางการผ่านทาง THNIC (ผู้ให้ บริการจดชื่อโดเมนเนมที่ลงท้ายด้วย .th) ว่า Yahoo.co.th ปัญหาจึงเกิดขึ้นเมื่อ Yahoo! Inc ต้องการเปิดบริการและใช้ชื่อ เว็บไซต์ดังกล่าวในเมืองไทย แต่เนื่องจากมีผู้จดทะเบียนชื่อเว็บไซต์ที่ Yahoo! Inc. ต้องการไปก่อนแล้ว จึงทำให้มีข่าวว่า Yahoo! จะฟ้องร้องบริษัทนั้น แต่ท้ายสุดเรื่องก็ยังเงียบไปพร้อมกับความเงียบของบริษัท Yahoo! ในไทยเช่นกัน ดังนั้นถ้าคุณคิดจะเปิดขายสินค้าหรือให้บริการใดบนอินเทอร์เน็ต นอกจากต้องระวังเรื่องทางเทคนิคด้านความปลอดภัยแล้วควรระวัง ป้องกันปัญหาที่อาจจะดูเหมือนไม่สลักสำคัญด้วยว่า ชื่อบริการหรือสินค้าของคุณไปตรงกับเว็บไซต์ของใครเขาหรือเปล่า หรือชื่อที่ คุณต้องการมีมือดีแอบไปจดแล้วหรือเปล่า ทางที่ดีก็ควรดูแลสิทธิ์ของคุณไว้แต่เนิ่น ๆ ถ้าคุณแน่ใจแล้วว่าดอตคอม คือธุรกิจที่คุณ จะต้องก้าวไปละก็ คุณก็น่าจะพิจารณาจดชื่อที่คุณหมายปองไว้ทั้ง dot-com, dot-co-th รวมทั้งดอตที่เป็นสกุลภาษาไทย เช่น ดอต-คอม ไว้ล่วงหน้าเสียเลยดีกว่า เพื่อตัดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นมาในภายหลัง

      3. กฎหมายที่มีอยู่ไม่สามารถคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่มีความสลับซับซ้อนไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีได้ เช่น เทคโนโลยีบันทีกเสียงตามมาตรฐาน MP3 ซึ่งสามารถบันทึกเสียงในรูปดิจิตอลที่มีขนาดของแฟ้มข้อมูลเล็กกว่าการบันทึกใน รูปเพลงที่บรรจุในแผ่นซีดีโดยทั่วไปประมาณ 10 เท่า โดยยังสามารถรักษาคุณภาพของเสียงไว้ในระดับที่ใกล้เคียงกับของเดิมทำให้ การละเมิดลิขสิทธิ์เพลงเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย จากการนำเพลงเอกที่มีลิขสิทธิ์แปลงให้อยู่ในรูปแบบ MP3 แล้วบรรจุไว้ในเครือข่าย อินเทอร์เน็ตเพื่อให้คนมาดาวน์โหลด

      4. การพัฒนาการทางเทคโนโลยีทำให้เกิดความต้องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาใหม่ๆเช่นสิทธิบัตรวิธีการดำเนิน ทางธุรกิจ หรือการคุ้มครองฐานข้อมูล ดังตัวอย่างต่อไปนี้ การประมูลย้อนกลับ (Reverse Auction) ที่บริษัท Priceline.com ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Walker Asset Management เป็นผู้ใช้และต้องการจดเป็นสิทธิบัตรเพื่อให้ได้รับการคุ้มครองและป้องกันการลอกเลียนแบบ กล่าวคือ ถ้าบริษัทใดต้องการทำ Reverse Auction ก็มีสิทธิ์โดนฟ้องร้องได้ แต่วิธีการนี้ก็มีใช้โดยทั่วไปในเว็บไซด์ ประมูลทั้งในไทยและต่างประเทศ การให้การคุ้มครองวิธีการดำเนินการทางธุรกิจจะจูงใจให้เกิดการจดสิทธิบัตรในเชิงกลยุทธ์ เพื่อหวังการฟ้องร้อง เช่น บริษัท Amazon.com ฟ้องร้อง Barnes & Noble ว่าละเมิดสิทธิบัตรการซื้อสินค้าด้วยการคลิ้กครั้งเดียวของตน หรือการที่ Walker Asset Management ฟ้องร้องบริษัท Expedia ในเครือไมโครซอฟท์ว่าละเมิดสิทธิบัตรการประมูลย้อนกลับของตน สิทธิบัตรวิธีการดำเนินการทางธุรกิจทำลายสมดุล์ระหว่างผลประโยชน์ของสังคมและผลประโยชน์ของผู้ทรงสิทธิ และทำลายจิตใจ สาธารณะอันเป็นวัฒนธรรมของเครือข่ายินเทอร์เน็ตซึ่งให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทนในรูปของตัวเงิน ดร.สมเกียรติได้ยกตัวอย่างสิทธิบัตรที่มีเจ้าของได้จดทะเบียนรูปแบบการทำธุรกิจระบบใหม่ๆไว้ ดังนี้ Amazon.comจดสิทธิบัตร การนำเทคโนโลยี Affiliate และ One Click Buying Patens ส่วน Walker Asset Management ก็ได้จดสิทธิบัตร Reverse Auction และ Selling Advice สุดท้ายคือ Dell Computer ที่จดสิทธิบัตร Customized PC Selling หรือที่รู้จัก กันดีว่า Build-to-order system จำนวนถึง 77 สิทธิบัตรไว้ แม้ว่าการจดสิทธิบัตรจะเป็นหนทางหนึ่งในการทำให้ธุรกิจอยู่รอด หรือช่วงชิงความเป็นผู้นำในกระแสการแข่งขันที่รุนแรง แต่การ จดสิทธิบัตรที่เป็นเทคโนโลยีใหม่นี้อาจส่งผลเสียต่อการสร้างแรงจูงใจในการสร้างนวัตกรรมรวมทั้งบริษัทดอตคอมของไทยถ้าจะหันมา ใช้เทคโนโลยีอย่างนี้อาจส่งผลให้เกิดการฟ้องร้องในอนาคตก็เป็นได้ เนื่องจากการขายสินค้าหรือบริการบนอินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึง ผู้สนใจได้ทั่วโลก ดังนั้นเว็บไซต์ของไทยที่อาจใช้เทคโนโลยีแบบใดแบบหนึ่งที่จดสิทธิบัตรแล้วหรือใช้วิธีการ One Click Buying อาจโดนฟ้องฐานละเมิดลิขสิทธิได้ ผลกระทบของสิทธิบัตรวิธีการดำเนินการทางธุรกิจนี้จะเพิ่มมากขึ้นตามความแพร่หลายของการค้า บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

การให้การคุ้มครองตามกฎหมายไทย

      ดร.สมเกียรติได้กล่าวไว้ในงานวิจัยชิ้นนี้ว่า สิ่งประดิษฐ์ตามเทคโนโลยีใหม่และสิทธิบัตรที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ไม่ได้รับ การคุ้มครองภายใต้กฎหมายสิทธิบัตรของไทย ดังนั้นหากสิทธิบัตรซอฟต์แวร์และวิธีการดำเนินการทางธุรกิจมีความแพร่หลายมากขึ้น ในหลาย ๆ ประเทศแล้ว ในอนาคตประเทศไทยอาจจะได้รับแรงกดดันจากภายนอกให้ขยายการคุ้มครองภายใต้กฎหมายสิทธิบัตร ให้แก่การประดิษฐ์ใหม่ ๆ เหล่านี้ด้วย สิ่งที่งานวิจัยนี้เสนอแนะคือ รัฐบาลไทยยังไม่ควรพิจารณาให้สิทธิบัตรแก่ซอฟต์แวร์และวิธีการดำเนินการทางธุรกิจดังกล่าวเพราะ เห็นว่า ซอฟต์แวร์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับการคุ้มครองอยู่แล้วภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ที่มีอยู่ ส่วนวิธีการดำเนินการทางธุรกิจนั้นเป็น สิ่งที่รัฐไม่ควรให้อำนาจผูกขาดแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง เนื่องจากการให้การคุ้มครองวิธีการดำเนินธุรกิจจะเป็นการกีดกันไม่ให้ ผู้ประกอบการรายอื่น ๆ เข้าสู่ตลาดได้ เช่น ถ้าให้การคุ้มครอง วิธี Reverse Auction กับบริษัทดอตคอมแห่งหนึ่งในประเทศไทย บริษัทดอตคอมอื่น ๆ ที่ต้องการใช้วิธีการเดียวกันนี้ในการประกอบธุรกิจ หรือ เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจก็จะไม่สามารถกระทำได้ เพราะจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หรืออาจต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ซึ่งทำให้ต้นทุนในการประกอบธุรกิจต้องสูงขึ้นอีกด้วย ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ววิธีการ Reverse Auctionนี้เป็นวิธีการที่หน่วยงานรัฐบาลไทยใช้ในการจัดซื้ออุปกรณ์หรือประมูลโครงการ ต่าง ๆ มาช้านานแล้ว (และไม่มีการจดสิทธิบัตรใด ๆ) ดังนั้นวิธีการนั้จึงไม่ใช่วิธีการที่แปลกใหม่เพียงแต่เปลี่ยนสื่อจากกระดาษมาเป็น สื่อออนไลน์เท่านั้นเอง

      ดังนั้น แทนที่จะมีการปรับปรุงกฎหมายสิทธิบัตรของประเทศให้ขยายการคุ้มครองไปยังสิทธิบัตรใหม่ ๆ งานวิจัยนี้จึงเสนอให้ ประเทศไทยแสวงหาพันธมิตรร่วมในประเทศต่าง ๆ เช่น ในยุโรป หรือในเอซียด้วยกัน ที่เห็นว่าการจดสิทธิบัตรดังกล่าวเป็นวิธีการ ดำเนินการทางธุรกิจที่คุกคามต่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ แม้การคุ้มครองสิทธิบัตรเหล่านี้จะได้รับการยอมรับในประเทศสหรัฐ อเมริกา แต่ก็ยังมีกลุ่มองค์กรบางกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการจดสิทธิบัตรเหล่านี้ เช่น Electronic Frontier Foundation เป็นต้น การสร้างความร่วมมืออาจส่งผลให้รัฐบาลสหรัฐพิจารณาที่จะยุติหรือลดการละเมิด

 
 

Total, there have been 253642 visitors (518958 hits) on this page!

 

 
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free