"ทำธุรกิจ E-Commerce อะไรดี"
บางคนสนใจที่จะทำ E-Commerce แต่อาจจะยังไม่แน่ใจว่าจะขายอะไรบนเว็บดี... ต่อไปนี้คือตัวอย่างของธุรกิจบนเว็บที่น่าสนใจ ซึ่งอาจจะพอช่วยทำให้คุณเกิดไอเดียได้บ้างว่า จะทำธุรกิจ E-Commerce อะไรดี
ประเภทของธุรกิจที่ได้รับความนิยมสูงสุด
• ธุรกิจที่เกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตโดยตรง เช่น การรับจดโดเมนเนม การรับจัดตั้งเว็บไซต์ การให้บริการ E-mail การให้บริการด้าน Counter และ Software ต่างๆ
• ธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์ เช่น การขายซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ต่างๆ
• ธุรกิจด้านการท่องเที่ยว เช่น การจองห้องพักโรงแรม การจองตั๋วเครื่องบิน การจองแพ็กเกจทัวร์ต่างๆ
• ธุรกิจด้านการส่งออก เช่น การทำโชว์รูมแสดงสินค้าบนเว็บเพจ
• ธุรกิจค้าปลีกสินค้าทั่วไป เช่น เสื้อผ้า อาหาร รองเท้า ฯลฯ
ประเภทของธุรกิจใหม่ที่มีโอกาสทำเงินสูง
• ศูนย์ขายสินค้าและอาหาร (Food Center Online)
• แหล่งรวม CD-ROM ของไทย เช่น สมุนไพรไทย ดนตรีไทย กีฬาไทย สถานที่ท่องเที่ยวไทย อาหารไทย สัตว์เลี้ยงไทย เป็นต้น
• ศูนย์วิเคราะห์ข่าว ได้แก่ การเปิดรับสมาชิกข่าวเฉพาะด้าน เช่น ข่าวด้านไอที ด้านการเงิน ด้านบันเทิง เป็นต้น
• ศูนย์แสดงสินค้า เช่น มอเตอร์โชว์ งานแสดงสินค้าและอาหารนานาชาติ ดนตรีไทย เป็นต้น
• ศูนย์จัดซื้อเครื่องใช้สำนักงาน เช่น การขายเครื่องใช้สำนักงานแบบ แมคโครออฟฟิศ
• ศูนย์ค้นหาข้อมูลเฉพาะทาง เช่น ธุรกิจด้านอาหารก็จะค้นหาแต่ข้อมูลที่เกี่ยวกับร้านอาหาร เป็นต้น
• ศูนย์สอนภาษา ได้แก่ การจัดหลักสูตรให้เรียนหลายๆ ภาษาบนอินเตอร์เน็ต เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ฯลฯ
• ศูนย์สอนศิลปะของไทย เช่น สอนมวยไทย สอนทำอาหารไทย สอนดนตรีไทย สอนรำไทย เป็นต้น
"การวางแผนการตลาดก่อนทำ E-Commerce"
ก่อนที่คุณจะลงมือทำการค้าแบบ E-Commerce คุณควรจะปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ :
1. สำรวจการตลาดด้วยการใช้ระบบค้นหาข้อมูล (Search Engine)
ก่อนที่คุณจะขายอะไรสักอย่างหนึ่งบนเว็บ คุณควรสำรวจการตลาดก่อนว่าธุรกิจประเภทนั้นๆ ได้รับความนิยมหรือไม่ เป้าหมายหรือกลุ่มบุคคลที่คุณจะขายคือใคร (Target Market) คุณอาจใช้ระบบค้นหาข้อมูลที่เรียกว่า Search Engine ที่เป็นเหมือน "สมุดหน้าเหลือง" (Yellow Pages) ในการสำรวจคู่แข่งในโลก , หากลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ สิ่งนี้จะทำให้คุณสามารถมองเห็นภาวะตลาดโลกอยู่ตลอดเวลา ในกรณีที่คุณต้องการที่จะไป เสนอขายสินค้าผ่านเว็บกับเขาบ้าง คุณอาจจะสร้างเว็บเพจขึ้นมาหน้าหนึ่ง แล้วก็โฆษณาขายสินค้า เข้าไปร่วมวงได้ โดยอาศัย Web Chat เป็นสื่อกลางในการสนทนา ซึ่งช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มาก
2. วางแผนการตลาดและพัฒนาเว็บเพจ
คุณควรที่จะสำรวจการตลาดโดยใช้ แบบสอบถาม (Questionnaire) หรือ แบบสอบถามบนอินเตอร์เน็ต (Questionnaire Online) เพื่อที่จะหาแนวโน้มและความเป็นไปได้ที่จะขายสินค้าหรือบริการนั้นๆ ลงบนเว็บ เช่น หลังจากที่คุณวิเคราะห์ว่าคุณน่าจะเปิดร้านบนเว็บแล้ว คุณอาจจะต้องจัดตั้งหน้าร้านบนเว็บไซด์ โดยอาจจะออกแบบมันด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เช่น Microsoft FrontPage, Dreamwaver หรือแม้แต่การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา HTML ตามที่คุณถนัด รวมถึงการออกแบบหน้าจอ ซึ่งต้องพิถีพิถันมากๆ ทั้งนี้คุณควรเลือกหรือปรับปรุงสินค้าและราคาให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายด้วย
3. การสร้างเว็บเพจ และการจัดตั้งเว็บไซต์
ในการนี้คุณต้องนำเอาเว็บเพจของคุณไปเก็บไว้ที่คอมพิวเตอร์แม่ข่าย หรือ Host หรือ Server ตัวใดตัวหนึ่ง ในโลก ซึ่งขึ้นอยู่กับความพอใจในราคาและการบริการ เมื่อเว็บไซต์ของคุณจัดตั้งเรียบร้อย ทุกคนที่เป็น สมาชิกอินเตอร์เน็ตทั่วโลกก็จะสามารถมองเห็นเว็บไซด์ของคุณได้หมด อย่างไรก็ตาม ในการนำเว็บเพจ เข้าสู่อินเตอร์เน็ต คุณต้องทำการจดชื่อโดเมนเนม เพื่อให้ลูกค้าของคุณจดจำได้ง่าย ซึ่งชื่อโดเมนเนมนี้ คุณควรตั้งชื่อให้น่าดึงดูด เพราะมันเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งเสมือนโลโกของร้านเลยทีเดียว
4. การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์
หลังจากที่คุณจัดตั้งเว็บไซต์และนำมันเข้าไปในอินเตอร์เน็ตเสร็จเรียบร้อยแล้ว คุณควรจะประชาสัมพันธ์ เว็บไซต์ของคุณ ซึ่งวิธีที่ประหยัดและดีที่สุดคือ การลงทะเบียนไว้ในระบบค้นหาข้อมูล หรือ Search Engines ต่างๆ เช่น Yahoo, AltaVista หรือ Excite ซึ่งจุดสำคัญอยู่ที่การวางคีย์เวิร์ด (key word) ให้กลุ่มเป้าหมายของคุณหาเจอ ให้ตรงกับความต้องการ
5. การติดตามผล ปรับปรุง และการบำรุงรักษาเว็บไซต์
เนื่องจากโลกของอินเตอร์เน็ตจะต้องใหม่และทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน คุณจึงควรต้องคอยปรับแต่งหน้าร้านของคุณ ให้ดูทันสมัยอยู่เสมอ เช่น อาจจะเปลี่ยนสินค้าใหม่ๆ ทุกเดือน เพื่อดึงดูดลูกค้า หรืออาจจะเปลี่ยนแปลงหน้าตา เว็บเพจใหม่บ้างตามเวลาอันสมควร เพราะคงจะไม่มีลูกค้าคนใดอยากเข้ามาในร้านที่ดูจำเจอยู่ตลอดเวลา
กลยุทธิ์ที่จำเป็นสำหรับการเปิดร้านออนไลน์
- สินค้าต้องน่าสนใจและมีจำนวนมากพอ
- รายละเอียดสินค้าครบถ้วนตรงตามความจริง
- สินค้ามีอยู่จริงและต้องให้ลูกค้าได้ทันที่สั่งซื้อ
- การออกแบบเวปต้องน่าดู
- การประชาสัมพันธ์ต้องเยี่ยม มีการส่งจดหมายข่าว หรือมีโปรโมชันดึงดูด อาจรวมถึงการโฆษณา
สิ่งที่ควรมีสำหรับการเปิดร้านบนอินเตอร์เน็ต
- หน้าร้านและพื้นที่ : ถ้าพื้นที่มากก็สามาถแสดงสินค้า และรายละเอียดได้มาก
- ตะกร้าซื้อสินค้า : สำหรับร้านค้าแบบออนไลน์ ตะกล้าซื้อสินค้าของร้านจะช่วยให้ลูกค้า ทราบว่าขณะนี้เขาหยิบสินค้าลงไปเท่าไหร่แล้วบ้าง และมูลค่ารวมของสินค้าเป็นเท่าไหร่ตะกร้าสินค้าจะรวมมูลค่าให้อัตโนมัติ
- อีเมลตอบรับ : เป็นบริการของผู้ให้บริการ ที่จะแจ้งให้เราและลูกค้าได้ทราบว่ามีการสั่งซื้นสินค้าแล้ว
- การชำระเงินด้วยบัตรเครดิต: แม้ว่าในระดับเริ่มต้นของการเปิดร้าน การชำระเงินผ่านบัตรจะไม่จำเป็นมากนัก แต่หากร้านของคุณเติบโตขึ้น มีลูกค้าจำนวนมาก
- สถิติและรายงาน : เพื่อให้คุณได้ทราบว่าร้านออนไลน์มีลูกค้าเข้ามาเยี่ยมชมมากแค่ไหน และสินค้าตัวใด หรือหมวดใดที่ลูกค้าสนใจบ้าง ซึ่งสถิติเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นที่สุดสิ่งหนึ่งของการเปิดร้านออนไลน์
- เทมเพลตการออกแบบ : หากคุณเป็นมือใหม่ของการออกแบบเวบ การทำร้านของคุณให้น่าดึงดูดใจคงเป็นเรื่องยากดังนั้นถ้าคุณเลือก ผู้ให้บริการที่มีเทมเพลตสำหรับการออกแบบได้รวดเร็บและสวยงามด้วยแล้วก็จะดีมาก
- การประชาสัมพันธ์: ผู้ให้บริการบางรายยังมีบริการส่งเมลไปให้ลูค้าโดยอัตโนมัติเมื่อคุณมีการปรับเปลี่ยนรายการสินค้าหรือรายละเอียดการบริการ
การชำระเงิน
- ไปรษณีย์เก็บเงินปลายทาง : คือเมื่อลูกค้าตกลงใจสั่งซื้อสินค้าแล้ว คุณก็ส่งสินค้าไปยังลูกค้า โดยวิธีไปรษณีย์เรียกเก็บเงินปลายทาง พร้อมทั้งระบุจำนวนเงินที่ต้องเรียกเก็บค่าสินค้า และอาจรวมค่าจัดส่งด้วย เมื่อลูกค้ารับสินค้า จะต้องจ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่ทางไปรษณีย์ก็จะธนาณัติมาให้คุณเพื่อขึ้นเงินครับ
- การโอนเงินเข้าบัญชี : เมื่อตกลงซื้อขายสิ้นค้าเรียบร้อบแล้ว คุณก็ให้ลูกค้าโอนเงินเข้าบัญชีตามที่ระบุ แล้วส่งหลักฐานการโอนเงินมาให้คุณ คุณก็จัดการส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้า ก็เรียบร้อยครับ
- การชำระเงินด้วยบัตรเครดิต : ถือว่าเป็นวิธีการที่น่าจะสะดวกที่สุด ถือว่าเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกันกับ การทำร้านค้าบนอินเตอร์เน็ต
|