เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญรองมาจากซีพียู เมนบอร์ดทำหน้าที่ควบคุม ดูแลและจัดการๆ ทำงานของ อุปกรณ์ชนิดต่างๆ แทบทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียู ไปจนถึงหน่วยความจำแคช หน่วยความจำหลัก ฮาร์ดดิกส์ ระบบบัส บนเมนบอร์ดประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มากมายแต่ส่วนสำคัญๆ ประกอบด้วย
1. ชุดชิพเซ็ต
ชุดชิพเซ็ตเป็นเสมือนหัวใจของเมนบอร์ดอีกที่หนึ่ง เนื่องจากอุปกรณ์ตัวนี้จะมีหน้าที่หลักเป็นเหมือนทั้ง อุปกรณ์ แปลภาษา ให้อุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่บนเมนบอร์ดสามารถทำงานร่วมกันได้ และทำหน้าที่ควบคุม อุปกรณ์ต่างๆ ให้ทำงานได้ตามต้องการ โดยชิพเซ็ตนั้นจะประกอบด้วยชิพเซ็ตนั้นจะประกอบไปด้วยชิพ 2 ตัว คือชิพ System Controller และชิพ PCI to ISA Bridge
ชิพ System Controller หรือ AGPSET หรือ North Bridge เป็นชิพที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ อุปกรณ์หลักๆ ความเร็วสูงชนิดต่างๆ บนเมนบอร์ดที่ประกอบด้วยซีพียู หน่วยความจำแคชระดับสอง (SRAM) หน่วยความจำหลัก (DRAM) ระบบกราฟิกบัสแบบ AGP และระบบบัสแบบ PCI
ชิพ PCI to ISA Bridge หรือ South Bridge จะทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกันระหว่างระบบบัสแบบ PCI กับอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีความเร็วในการทำงานต่ำกว่าเช่นระบบบัสแบบ ISA ระบบบัสอนุกรมแบบ USB ชิพคอนโทรลเลอร์ IDE ชิพหน่วยความจำรอมไออส ฟล็อบปี้ดิกส์ คีย์บอร์ด พอร์ตอนุกรม และพอร์ตขนาน
ชุดชิพเซ็ตจะมีอยู่ด้วยกันหลายรุ่นหลายยี่ห้อโดยลักษณะการใช้งานจะขึ้นอยู่กับซีพียูที่ใชเป็นหลัก เช่นชุด ชิพเซ็ตตระกูล 430 ของอินเทลเช่นชิพเซ็ต 430FX, 430HX 430VX และ 430TX จะใช้งานร่วมกับซีพียู ตระกูลเพนเทียม เพนเที่ยม MMX, K5, K6, 6x86L, 6x86MX (M II) และ IDT Winchip C6 ชุดชิพเซ็ต ตระกูล 440 ของอิเทลเช่นชิพเซ็ต 440FX, 440LX, 440EX และชิพเซ็ต 440BX จะใช้งานร่วมกับ ซีพียูตระกูลเพนเที่ยมโปร เพนเที่ยมทู และเซลเลอรอน และชุดชิพเซ็ตตระกูล 450 ของอินเทลเช่นชุดชิพเซ็ต 450GX และ 450NX ก็จะใช้งานร่วมกับซีพียูตระกูลเพนเที่ยมทูซีนอนสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับ Server หรือ Workstation นอกจากนี้ยังมีชิพเซ็ตจากบริษัทอื่นๆ อีกหลายรุ่นหลายยี่ห้อที่ถูกผลิตออกมา แข่งกับอินเทลเช่นชุดชิพเซ็ต Apollo VP2, Apollo VP3 และ Apollo mVp3 ของ VIA, ชุดชิพเซ็ต Aladin IV+ และ Aladin V ของ ALi และชุดชิพเซ็ต 5597/98, 5581/82 และ 5591/92 ของ SiS สำหรับซีพียูตระกูลเพนเที่ยม เพนเที่ยม MMX, K5, K6, 6x86L, 6x86MX (M II) และ IDT Winchip C6 ชุดชิพเซ็ต Apollo BX และ Apollo Pro ของ VIA, ชุดชิพเซ็ต Aladin Pro II M1621/M1543C ของ ALi และชุดชิพเซ้ต 5601 ของ Sis สำหรับซีพียูตระกูลเพนเที่ยมทู และเซลเลอรอน ซึ่งชิพเซ้ตแต่ละรุ่น แต่ละยี้ห้อนั้นจะมีจุดดีจุดด้อยแตกต่างกันไป
2. หน่วยความจำรอมไบออส และแบตเตอรรี่แบ็คอัพ
ไบออส BIOS (Basic Input Output System) หรืออาจเรียกว่าซีมอส (CMOS) เป็นชิพหน่วยความจำชนิด หนึ่งที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล และโปรแกรมขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์ โดยในอดีต ส่วนของชิพรอมไบออสจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ชิพไบออส และชิพซีมอส ซึ่งชิพซีไปออสจะทำหน้าที่ เก็บข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนชิพซีมอสจะทำหน้าที่ เก็บโปรแกรมขนาดเล็ก ที่ใช้ในการบูตระบบ และสามารถเปลี่ยนข้อมูลบางส่วนภายในชิพได้ ชิพไบออสใช้พื้นฐานเทคโนโลยีของรอม ส่วนชิพซีมอสจะใช้เทคโนโลยีของแรม ดังนั้นชิพไบออสจึงไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้า ในการเก็บรักษาข้อมูล แต่ชิพซีมอส จะต้องการพลังงานไฟฟ้าในการเก็บรักษาข้อมูลอยตลอดเวลาซึ่งพลังงานไฟฟ้า ก็จะมาจากแบตเตอรี่แบ็คอัพที่อยู่บนเมนบอร์ด (แบตเตอรี่แบ็คอัพจะมีลักษณะเป็นกระป๋องสีฟ้า หรือเป็นลักษณะกลมแบนสีเงิน ซึ่งภายในจะบรรจุแบตเตอรรี่แบบลิเธี่ยมขนาด 3 โวลต์ไว้) แต่ตอ่มาในสมัย ซีพียตระกูล 80386 จึงได้มีการรวมชิพทั้งสองเข้าด้วยกัน และเรียกชื่อว่าชิพรอมไบออสเพียงอย่างเดียว และการที่ชิพรอมไบออสเป็นการรวมกันของชิพไบออส และชิพซีมอสจึงทำให้ข้อมูลบางส่วนที่อยู่ภายใน ชิพรอมไบออส ต้องการพลังงานไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูลไว้ แบตเตอรี่แบ็คอัพ จึงยังคงเป็นสิ่งจำเป็นอยู่จนถึง ปัจจุบัน จึงเห็นได้ว่าเมื่อแบตเตอรี่แบ็คอัพเสื่อม หรือหมดอายุแล้วจะทำให้ข้อมูลที่คุณเซ็ตไว้ เช่น วันที่ จะหายไปกลายเป็นค่าพื้นฐานจากโรงงาน และก็ต้องทำการเซ้ตใหม่ทุกครั้งที่เปิดเครื่อง เทคโนโลยีรอมไบออส ในอดีต หน่วยความจำรอมชนิดนี้จะเป็นแบบ EPROM (Electrical Programmable Read Only Memory) ซึ่งเป็นชิพหน่วยความจำรอม ที่สามารถบันทึกได้ โดยใช้แรงดันกระแสไฟฟ้าระดับพิเศษ ด้วยอุปกรณ์ ที่เรียกว่า Burst Rom และสามาถลบข้อมูลได้ด้วยแสงอุตราไวโอเล็ต ซึ่งคุณไม่สามารถอัพเกรดข้อมูลลงในไบออสได้ ด้วยตัวเองจึงไม่ค่อยสะดวกต่อการแก้ไขหรืออัพเกรดข้อมูลที่อยู่ในชิพรอมไบออส แต่ต่อมาได้มีการพัฒนา เทคโนโลยชิพรอมขึ้นมาใหม่ ให้เป็นแบบ EEPROM หรือ E2PROM โดยคุณจะสามารถทั้งเขียน และลบข้อมูล ได้ด้วยกระแสไฟฟ้าโดยใช้ซอฟต์แวร์พิเศษ ได้ด้วยตัวเองอย่างง่ายดายดังเช่นที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน
3. หน่วยความจำแคชระดับสอง
หน่วยความจำแคชระดับสองนั้นเป็นอุปกรณ์ ตัวหนึ่งที่ทำหน้าเป็นเสมือนหน่วยความจำ บัฟเฟอร์ให้กับซีพียู โดยใช้หลักการที่ว่า การทำงานร่วมกับอุปกร์ที่ความเร็วสูงกว่า จะทำให้เสียเวลาไปกับการรอคอยให้อุปกรณ์ ที่มีความเร็วต่ำ ทำงานจนเสร็จสิ้นลง เพราะซีพียูมีความเร็วในการทำงานสูงมาก การที่ซีพียูต้องการข้อมูล ซักชุดหนึ่งเพื่อนำไปประมวลผลถ้าไม่มีหน่วยความจำแคช
ปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
ไม่ว่าจะเป็น เมนบอร์ด ซีพียู แรม บัส ฯลฯ ล้วนแล้วแต่มีการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน มากขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ชิ้นส่วนต่าง ๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ยังเป็นปัจจัยหนึ่งใน การพิจารณาเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์อีกด้วย ตอนนี้เราจะมาดูในเรื่องของเมนบอร์ด ว่าควรจะเลือกซื้อและพิจารณาส่วนใดกันบ้าง
สิ่งสำคัญในการเลือกซื้อ
สิ่งสำคัญในการพิจารณาเลือกซื้อเมนบอร์ดสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น คุณจะต้อง พิจารณาในส่วนต่าง ๆ ที่มีส่วนสำคัญและเกี่ยวข้องกับการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด อาทิเช่น ความคอมแพตทิเบิลของเมนบอร์ดกับซีพียู, ซิพเซต, ไบออส,I/O chips, พอร์ตต่าง ๆ รวมทั้งรูปแบบหรือโครงสร้างของเมนบอร์ดด้วย ฯลฯ นอกจากนี้สิ่งหนึ่งที่สำคัญอีกประการก็คือ ยี่ห้อและรุ่นของเมนบอร์ดที่จะนำมาใช้กับการทำงานที่ต้องการและประสิทธิภาพในการทำงาน ที่ได้รับ
เมนบอร์ดในปัจจุบัน
เริ่มจากอดีตจนถึงปัจจุบันหน้าตาของเมนบอร์ดและประสิทธิภาพในการทำงานของเมนบอร์ด มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงให้มีประสิทธภาพในการทำงานมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันนี้เมนบอร์ด ที่กำลังเป็นที่นิยมกันก็คงจะหนีไม่พ้นเมนบอร์ดเพนเทียมที่แซงหน้าเมนบอร์ดรุ่น 486 ที่กำลัง จะกลายเป็นเมนบอร์ดที่ถูกทอดทิ้ง เนื่องจากประสิทธิภาพที่เหนือกว่าของเมนบอร์ด เพนเทียม อีกทั้งแนวโน้มที่กำลังมาแรงของเมนบอร์ดเพนเทียมโปรที่มีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ออกมามาก ขึ้น จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ให้ความสนใจและจับตามองความเคลื่อนไหวอย่าง ต่อเนื่อง
เมนบอร์ดที่มีคุณลักษณะที่เรียกว่า ATX Form Factor นั่นก็คือการจัดองค์ประกอบหรือวงจร ต่าง ๆ บนเมนบอร์ดให้มีความกระชับ และเสันทางเดินวงจรใกล้ที่สุด นอกจากนี้ยัง built-in พวกพอร์ตต่าง ๆ ไว้ เช่น Com1, Com2, PS/2 Keyboard, Mouse และ Parallelไว้บน เมนบอร์ดอีกด้วย
คุณลักษณะสำคัญ
สำหรับคุณลักษณะสำคัญของเมนบอร์ดที่ควรพิจารณา ก็เริ่มจากเมนบอร์ดเพนเทียม ที่กำลังเป็นที่นิยมและใช้งานกันมากขึ้น ในการเลือกซื้อนั้นควรจะพิจารณาเมนบอร์ดกับ ซีพียูว่า เมนบอร์ดนั้นสามารถใช้งานหรือต้องการซีพียูในการทำงานรุ่นใด ซึ่งอย่างน้อยควรเลือกซื้อ เมนบอร์ดรุ่นต่ำสุดเป็นรุ่นเพนเทียม 133 MHz ขึ้นไปและเมนบอร์ดนั้นสามารถที่จะอัพเกรด ซีพียูได้ถึงระดับไหน นอกจากนี้ยี่ห้อของ CPU ที่มีการพัฒนาอยู่ในท้องตลาด เช่น AMD, Cyrix และ Intel ยังเป็นปัจจัยในการพิจารณาเลือกซื้ออีกด้วย รวมทั้งคุณภาพของชิพเซตและ ยี่ห้อที่เป็นยอมรับในการทำงาน เช่น Triton, Intel หรือ SiS เป็นต้น
สำหรับชิพเชตที่เพิ่งประกาศตัวไม่นานของ Intel นั้น ก็คือ ชิพเชตที่สนับสนุนโปรเซสเซอร์ที่มี MMX สำหรับเพนเทียม (Pentium) ได้แก่ ชิพเชตรุ่น 430TX ส่วนเพนเทียมโปร (Pentium Pro) ได้แก่ ชิพ เซตรุ่น 440LX ซึ่งชิพเซตทั้งสองรุ่นนี้มีการนำคุณลักษณะพิเศษที่เป็นโมเดลใหม่ ของเพนเทียม (P55C) และเพนเทียมโปร ("Klamath") คือ MMX ที่รวมคุณสมบัติในด้าน ระบบมัลติมีเดียไว้อย่างครบถ้วน เช่น เรื่องของเสียง,กราฟิก, ภาพ ซึ่งในขณะนี้เมนบอร์ดทั้ง เพนเทียมและเพนเทียมโปรที่สนับสนุนคุณสมบัติ MMX กำลังทยอยนำเข้ามาสู่ท้องตลาด ซึ่งเป็นอีกคุณสมบัติที่น่าสนใจมาก
สำหรับเมนบอร์ดที่ใช้ชิพเชตอย่าง 430TX และ 440LX นี้ก็น่าจะมีซ็อกเก็ต สำหรับใส่ SDRAM อยู่ด้วยเพื่อรองรับการทำงานในอนาคต SDRAM นั้นเป็นแรมชนิดใหม่ช่วยเพิ่มความเร็วในการ ทำงาน ซึ่งจะพบว่ามี SDRAM อยู่บนเมนบอร์ดบางชนิด จะมีอยู่ 1 ซ็อกเก็ต ซึ่งในปัจจุบัน ควรจะเลือกเมนบอร์ดที่มีช่องใส่ SDRAM อยู่ 2 ซ็อกเก็ต เพื่อการเพิ่ม SDRAM ในอนาคต
สำหรับลักษณะโดยทั่ว ๆ ไปของเมนบอร์ดในปัจจุบันมักจะมีซ็อกเก็ตสำหรับใส่แรมชนิด 72-pin (SIMM) เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเมนบอร์ดจะมีซ็อกเก็ตสำหรับใส่แรมอยู่ 4 ซ็อกเก็ต แต่สำหรับ เมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ นั้นจะมีซ็อกเก็ตสำหรับใส่แรมชนิด 72-pin อยู่ถึง 6-8 ซ็อกเก็ตเลยทีเดียว ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกซื้อได้ตามความต้องการที่จะใช้งานของหน่วยความจำในการทำงาน สำหรับซ็อกเก็ตแรมแบบ 30-pin นั้นก็คงจะสูญไปเลยทีเดียว สำหรับเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งหากจะให้แรมชนิด 30-pin ก็คงจะต้องใช้อะแดปเตอร์ในการแปลงเข้าช่วย และในการ พิจารณาซ็อกเก็ตที่มีอยู่บนเมนบอร์ดก็มีส่วนสำคัญในการทำงาน ดังนั้นผู้ซื้อควรเลือก เมนบอร์ดที่มีซ็อกเก็ตใส่แรมได้หลาย ๆ แถว ซึ่งเราอาจจะพบว่าเมนบอร์ดเพนเทียมนั้นมีการ ออกแบบมาให้ 1 แบงก์ประกอบด้วย 2 ซ็อกเก็ต (มีบางเมนบอร์ดที่ออกแบบมาให้ 1 แบงก เท่ากับ 1ซ็อกเก็ต) ฉะนั้นหากผู้ใช้ที่ต้องการใช้หน่วยความจำในการทำงาน 16 MB ก็จะต้องใส่แรม 8 MB 2 แถวลงใน 2 ซ็อกเก็ต ก็จะครบ 1 แบงก์ ดังนั้นในการพิจารณาแบงก์ จึงเป็นสิ่งสำคัญบนเมนบอร์ดด้วย เผื่อไว้สำหรับอนาคตที่ต้องการเพิ่มหน่วยความจำให้กับ เครื่องคอมพิวเตอร์
ส่วนที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ สล้อตบนเมนบอร์ด ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว เมนบอร์ดของ เพนเทียมจะประกอบด้วย สล้อต PCI และ ISA เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสล้อตต่าง ๆ ดังกล่าวก็เป็น ปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้กับการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยเช่นกัน หากมีจำนวนสล้อตมาก ๆ นั่นก็หมายความว่าคุณสามารถที่จะติดตั้งการ์ดที่สนับสนุนอินเตอร์เฟสต่าง ๆ ได้มากเพิ่มขึ้นด้วย ในการพิจารณาเลือกซื้อเมนบอร์ดก็ควรจะคำนึงถึงสล้อตเหล่านี้ด้วย อย่างน้อยคุณก็ควรจะ เลือกสล้อตแบบ PCI ให้มากไว้ เพราะสล้อตแบบ PCI สามารถทำงานได้เร็วกว่าสล้อตแบบ ISA ดังนั้นเราจ ะสังเกตเห็นว่าเมนบอร์ดที่เพิ่งจะออกมาในท้องตลาดระยะหลังนี้จะสนับสนุนสล้อต แบบ PCI มากกว่าแบบ ISA
คุณลักษณะ ATX
เมนบอร์ดในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนและพัฒนารูปแบบให้มีความกระชับและมีความสามารถ เพิ่มขึ้น ซึ่งเมนบอร์ด ATX นั่นก็คือ เมนบอร์ดที่ออกแบบวงจรให้มีความกะทัดรัดมากขึ้น ซึ่ง จะทำให้มีความเร็วในการทำงานเพิ่มขึ้นประมาณ 10% รวมทั้งส่วนของ I/O Controler ที่มีอยู่ บนเมนบอร์ด และพวกพอร์ตต่าง ๆ เช่น Com1, Com2, PS/2, Parallel port, Mouse, มีติดอยู่กับบอร์ดให้เลย
นอกจากนี้ในส่วนของ IR (infrared) Com Port ยังป็นอีกส่วนบนเมนบอร์ดซึ่งจะช่วยในเรื่อง ของการส่งรับข้อมูลโดยผ่านอุปกรณ์ที่สนับสนุนระบบอินฟราเรดอย่างพวกคีย์บอร์ด และ เครื่องพิมพ์ เช่น เครื่องพิมพ์เลเซอร์รุ่นใหม่ ๆ ของ HP ทุกรุ่นจะสนับสนุนการทำงานระบบ อินฟราเรด
USB (Universal Serial Bus)
ช่องต่อ I/O ที่สามารถต่ออุปกรณ์เพิ่มเติมแบบ Plug & Play ซึ่งมีความเร็วในการส่งผ่าน ข้อมูลสูงสุด 12 Mbและต่ำสุด 1.5 Mb (ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ต่อเชื่อม)
เมนบอร์ดที่พร้อมด้วยเทคโนโลยี USB (Universal Serial Bus ) ซึ่ง USB ที่ว่านี้เป็น I/O ที่เพิ่มเติมเข้ามาบนเมนบอร์ด สำหรับต่ออุปกรณ์ Plug and Play โดยในส่วนของ USB นี้ จะเป็นการเสริมประสิทธิภาพในการใช้งานเมนบอร์ดเพิ่มมากขึ้น ช่วยให้ผู้ใช้สามารถต่อ เชื่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้ากับพีซีได้อย่างง่ายดาย เช่น การเชื่อมต่อจอภาพ, เครื่องพิมพ์, โมเด็ม, สแกนเนอร์, กล้องดิจิตอล,จอยสติกซ์, ลำโพงดิจิตอล ฯลฯ USB มีความเร็ว (data rate) สูงสุด 12 Mbps และต่ำสุด 1.5 Mbps (ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ต่อเชื่อม) นับว่า USB ที่พัฒนาออกมานี้เป็น การประชันกับการ์ด SCSI ซึ่งคาดว่าในอนาคตคงจะเป็นที่นิยมกันมากขึ้น และอาจจะเป็น อีกออปชันหนึ่งที่ถูกพิจารณาเลือกซื้อเมนบอร์ดในอนาคต
Pipelined Burst Cache
เมนบอร์ดนับว่าเป็นหัวใจหลักเลยทีเดียวในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์เพราะเป็นแผง วงจรที่รวบรวมหน้าที่ของชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ในการทำงานไว้อย่างครบถ้วน ดังนั้นอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้ควรพิจารณาด้วยก็คือส่วนที่เรียกว่า Pipelined Burst Cache ซึ่งในส่วนนี้ เพิ่งจะมีการพัฒนาขึ้นใช้บนเมนบอร์ดเพนเทียมเป็นครั้งแรกเมื่อไม่นานมานี้ ในระยะแรก ๆ นั้นจะเป็นเพียงโมดุลที่แยกย่อยให้ติดตั้งเพิ่ม แต่ในปัจจุบันได้มีการ built-in ลงบนเมนบอร์ดเลย
Pipelined Burst Cache นี้เป็นแคชที่เร็วกว่าแคชธรรมดา และมีหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์ใน การรับส่งข้อมูลระหว่าง CPU กับ RAM ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำงานได้รวดเร็วขึ้น
I/O chips
สิ่งสุดท้ายที่จะกล่าวถึงความสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเลือกซื้อเมนบอร์ดก็คือ I/O chips อาทิเช่น ชิพ UART16550 ซึ่งเป็นชิพที่ช่วยในการควบคุมการ Input และ Output ของ อุปกรณ์ที่ต่อเข้ากับเครื่องคอมพิว เตอร์ที่เป็น Com Ports โมเด็มความเร็วสูงในปัจจุบัน จะต้องการส่วนนี้ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอยู่แล้วบนเมนบอร์ดปัจจุบันทุกรุ่น นอกเหนือจากสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นที่เป็นปัจจัยต่อการพิจารณาเลือกซื้ อเมนบอร์ดแล้ว ยังมีสิ่งที่ควรจะพิจารณา เพิ่มเติมร่วมด้วยนั่นก็คือการปรับ Voltage ซึ่งบนเมนบอร์ดจะมีตัว Regulator สำหรับแปลง ไฟโดยสามารถเซตได้ที่จัมเปอร์
Chipset
อุปกรณ์สำคัญอีกชิ้นหนึ่งที่ผู้ใช้จะมองข้ามไม่ได้สำหรับการเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ก็คือ "ชิพเซ็ต" โดยปกติแล้วชิพเซ็ตมักจะเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้มองข้ามอยู่เสมอ เพราะเห็นว่ามีความสำคัญเพียงเล็กน้อยกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ แต่ความเป็นจริง แล้วชิพเซ็ตถือเป็นอีกหัวใจหลักหนึ่งในการทำงานของคอมพิวเตอร์เลย ทั้งนี้เพราะชิพเซ็ต จะเป็นผู้ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างการติดต่อของซีพียูกับอุปกรณ์อื่น ๆ
หน้าที่ของชิพเซ็ตนั้นจะดูแลการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งหมดบนเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ สามารถทำงานสอดคล้องกัน ตั้งแต่การติดต่อระหว่างซีพียูกับหน่วยความจำบนเครื่อง การควบคุม ดูแลการทำงานของฮาร์ดดิสค์และอุปกรณ์เชื่อมต่ออื่น ๆ รวมไปถึงการดูแล การทำงานของการ์ดด่าง ๆ ที่มีอยู่ในเครื่อง
ด้วยหน้าที่ที่ครอบคลุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์มากเช่นนี้ การเลือกใช้ชิพเซ็ตที่มี ประสิทธิภาพสูงก็จะช่วยให้การทำงานของระบบทั้งหมดดีขึ้น มีเสถียรภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้ความเร็วของระบบสูงขึ้นด้วย ดังนั้นในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ผู้ใช้จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องให้ความสำคัญกับชิพเซ็ตที่มีอยู่บนเมนบอร์ดไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการเลือกอุปกรณ์ตัวอื่น
ชิพเซ็ตนั้นหากจะแบ่งง่าย ๆ สำหรับตลาดคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันของบ้านเราก็คงจะแบ่งเป็น ชิพเซ็ตสำหรับหน่วยประมวลผล Pentium และ Pentium Pro สำหรับชิพเซ็ตที่เป็นที่รู้จักมากที่ สุดสำหรับผู้ใช้บ้านเราก็คงเป็นชิพเซ็ตจากบริษัทอินเทล แต่สำหรับตลาดต่างประเทศแล้วก็จะม ียี่ห้ออื่นอยู่ด้วยเช่นกัน เช่น VIA Technology หรือ SiS ซึ่งบ้านเราก็พอมีบ้าง แต่เนื่องจาก ตลาดซีพียูในบ้านเราก็เป็นตลาดของชิพจากบริษัทอินเทล ดังนั้นจะขอเน้นถึงชิพเซ็ตของ บริษัทอินเทลเป็นหลัก
ชิพเซ็ตของบริษัทอินเทลที่พัฒนามาเพื่อใช้กับซีพียูเพนเทียมนั้น มีชิพเซ็ตที่รู้จักกันดี 3 รุ่นคือ Intel 430FX PCIset, Intel 430HX PCIset และ Intel 430VX PCIset Intel 430FX PCIset นั้นจะเป็นชิพเซ็ตสำหรับเพนเทียมรุ่นแรกที่บริษัทอินเทลผลิตขึ้นโดยมีลักษณะเด่น อยู่ที่การสนับสนุนหน่วยความจำหลักแบบ EDO RAM และยังสนับสนุนแคชแบบ pipelined burst SRAMs ซึ่งมีความเร็วสูงและสามารถสนับสนุนการทำงานของชิพเพนเทียมตั้งแต่ 75 ถึง 100 MHz
แต่มาในปัจจุบันชิพเซ็ตรุ่นนี้ไม่สามารถตอบสนองเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปแล้วดังนั้นทางอินเทล จึงได้พัฒนาชิพเซ็ตใหม่ขึ้นคือ 430HX ซึ่งเป็นรุ่นที่ดีที่สุดในปัจจุบัน โดยมีความคอมแพตทิเบิ้ล กับชิพเซ็ต 430FX และเพิ่มความสามารถอื่น ๆ เข้าไปอีก เช่น สนับสนุน MMX, สนับสนุน สถาปัตยกรรม Concurrent PCI, สนับสนุน USB, คุณสมบัติที่ช่วยลดความซับซ้อนของวงจร ฯลฯ ซึ่งด้วยความสามารถใหม่ ๆ ทั้งหมด ก็ทำให้สามารถเพิ่มความเร็วในการทำงานของ คอมพิวเตอร์ให้สูงขึ้นได้ สำหรับ Intel 430VX PCIset นั้นเป็นชิพเซ็ตที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้เหมาะ สำหรับการใช้งานของธุรกิจขนาดเล็กและการใช้งานแบบตามบ้าน เพราะออกแบบให้ยืดหยุ่น ในการใช้งานทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ได้รับผลคุ้มค่าที่สุด ชิพจะสนับสนุนหน่วยความจำ แบบใหม่คือ SDRAM นอกจากนี้ยังออกแบบให้สนับสนุนการทำงานแบบมัลติมีเดียมากที่สุด อีกด้วย และเช่นเดียวกับในรุ่น 430HX ในรุ่น 430VX นี้ก็สนับสนุน MMX เช่นเดียวกัน ใน อนาคตนั้น อินเทลก็จะมีการผลิตชิพเซ็ตตัวใหม่ขึ้นมาอีกคือรุ่น 430TX ซึ่งจะเป็นชิพที่เหมาะ สำหรับการทำงานร่วมกับ ชิพ Pentium MMX โดยเฉพาะซึ่งคาดว่าจะช่วยเพิ่มความเร็วให้กับ คอมพิวเตอร์ได้อีกไม่น้อย
ทางด้านชิพเซ็ตสำหรับเพนเทียมโปรนั้นก็มีอยู่หลายรุ่นตั้งแต่รุ่น Intel 440 FX PCIset ซึ่งมี จุดเด่นที่การปรับแต่งให้ใช้ประโยชน์สำหรับการทำงานแบบ 32 บิต อย่างเต็มที่, สนับสนุน Concurrent PCI ที่ช่วยให้สล้อตแบบ ISA และ PCI สามารถทำงานไปพร้อม ๆ กันได้, สนับสนุน USB และยังมีออปชันสนับสนุนการใช้หน่วยประมวลผล 2 ตัวอีกด้วย ส่วนชิพเซ็ต 450GX PCIset นั้นจะเน้นไปที่ตลาด OEM และเมนบอร์ดซึ่งเน้นที่การทำงานในลักษณะ เซิร์ฟเวอร์ และความสามารถในการอัพเกรดเป็นแบบ Multiprocessing ชิพเซ็ต 450KX จะเน้นไปที่ความต้องการเครื่องแบบ Workstation ประสิทธิภาพสูงซึ่งทั้ง 450GX และ 450KX นั้นจะเป็นชิพเซ็ตที่มีเสถียรภาพในการทำงานสูง
ส่วนชิพเซ็ตใหม่ในอนาคตของอินเทลสำหรับเพนเทียมโปรนั้นจะเป็นรุ่น 430 LX ซึ่งจะผลิต ขึ้นเพื่อการสนับสนุนชิพเพนเทียมโปรที่เพิ่มเทคโนโลยี MMX เข้าไปหรือที่ใช้ชื่อรหัสว่า Klamath ซึ่งก็คาดว่าเมื่อผลิตออกมาคงจะช่วยเพิ่มความเร็วและประสิทธิภาพของระบบได้ดีทีเดียว
|