Board-Forum-Diary

   
 


 

 

Home

Board-Forum-Diary

Administrator

ASP

Business Manage

Computer Basic

Computer Hardware

Computer Software

Computer Tip

Computer Virus

Contact

Database

Firefox

Gallery

Game

HI5 ME!

Link

Project Demo

System Analysis

Website

Food & Drink

SkyDrive

MS-word

MS-excel

Mobile

Drug

Clock

Car & Motorcycle

Download

 


     
 



เลือกประเภท-อ่านหัวข้อที่ท่านสนใจ

Board Forum Diary - แผนการเงิน for มือใหม่

You are here:
Board Forum Diary => General Business => แผนการเงิน for มือใหม่

<-Back

 1 

Continue->


fiatja
(151 posts so far)
08/08/2008 5:24am (UTC)[quote]
แผนการเงิน ในแผนธุรกิจ



ไม่ว่าจะเป็นครั้งใดในการฝึกอบรมผู้ประกอบการใหม่เกี่ยวกับเรื่องการเขียนแผนธุรกิจ เมื่อมาถึงขั้นตอนของการเขียน แผนการเงิน ครั้งใดความปวดเศียรเวียนเกล้าก็จะเกิดขึ้นกับผู้เข้าร่วมอบรมกันอย่างทั่วถึง โดยไม่มีข้อยกเว้นเลยสักครั้ง

แสดงให้เห็นถึงข้อเท็จจริงว่าปัญหาหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยเราก็คือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเข้าใจเรื่องการเงินและการบัญชี

ซึ่งเปรียบเสมือนว่าเป็นเรื่องของ สายเลือด ที่มาหล่อเลี้ยงธุรกิจเลยทีเดียว

การวางแผนการเงินสำหรับธุรกิจ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญต่อศักยภาพและความเป็นไปได้ของธุรกิจที่ต้องการจะเขียนแผนธุรกิจก็ว่าได้

ผู้ประกอบการใหม่ จึงควรตระเตรียมตัวเองให้มีพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องการหมุนเวียนหรือการไหลของเงินที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการทำธุรกิจอย่างเพียงพอ

แผนการเงิน ในแผนธุรกิจเริ่มใหม่ มักจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ขึ้นอยู่กับช่วงระยะการดำเนินธุรกิจ

ส่วนแรก จะเป็นแผนการเงิน ในช่วงของการเตรียมจัดตั้งธุรกิจ หรือที่มักเรียกกันว่า ช่วงก่อนเปิดดำเนินการ และอีกส่วนหนึ่ง จะเป็นแผนการเปิดดำเนินการ และอีกส่วนหนึ่ง จะเป็นแผนการเงิน ในช่วงระหว่างการดำเนินการไปตามแผน

โดยปกติแล้ว แผนธุรกิจเริ่มใหม่ มักจะต้องกำหนดช่วงเวลาของแผนไว้อย่างชัดเจน ซึ่งอาจเป็นแผนระยะเวลา 3 ถึง 5 ปี ขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจที่จะดำเนินการ

หากเป็นธุรกิจบริการหรือเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่มีวงจรชีวิตไม่ยาวนานมากนักแผนธุรกิจ มักจะจัดทำให้ครอบคลุมระยะเวลา 3 ปี แต่ส่วนใหญ่มักจะนิยมทำแผนธุรกิจใหม่ ให้ครอบคุมระยะเวลา 5 ปี

เส้นแบ่งเวลาระหว่าง “ช่วงก่อนเปิดดำเนินการ” กับ “ช่วงระหว่างดำเนินการ” ตามแผน จะสามารถขีดได้อย่างชัดเจนโดยแบ่งกันที่วันแรกที่กิจการจะเริ่มทำการค้าขาย

กิจกรรมทุกอย่างที่เกิดขึ้นก่อนวันแรกที่กิจการจะเริ่มทำการค้าขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่ต้องมีการใช้เงิน จะต้องจัดแสดงจัดแสดงรายละเอียดไว้ในแผนการเงิน ของ “ช่วงก่อนเปิดดำเนินการ”

ท่านผู้อ่านคงจะมองเห็นได้ว่า ก่อนการเปิดดำเนินการหรือ ก่อนที่กิจการจะสามารถสร้างรายได้จากการขายขึ้นเป็นครั้งแรกนั้น กิจกรรมหรือการเตรียมการตางๆ ล้วนแล้วแต่เป็นรายการ “ใช้เงิน” โดยทั้งสิ้น

เพราะยังไม่ได้เริ่มขายสินค้าได้เลยสักบาท “แผนการเงิน” ในช่วงของการใช้เงินเพื่อเตรียมการเปิดกิจการนี้จึงมักจะถูกเรียกว่าเป็น “แผนการลงทุน”

ดังนั้น ผู้ประกอบการเริ่มใหม่ จะต้องทบทวนรายละเอียดต่างๆ ของการลงทุน หรือ การใช้เงินในระหว่างที่กิจการยังไม่มีรายได้จากการขายให้ครบถ้วน เพื่อให้ทราบว่า จะต้องเตรียม “เงินลงทุน” ไว้มากน้อยเพียงใด

กิจกรรมที่มักจะต้องมีการใช้เงินในช่วง “ก่อนดำเนินการ” ได้แก่

เงินที่นำไปใช้ลงทุนในการจัดซื้อ จัดหา หรือจัดสร้าง สินทรัพย์ของกิจการ เช่น ที่ดิน อาคาร โรงงาน สำนักงาน เครื่องจักร อุปกรณ์รถยนต์ ยานพาหนะ เครื่องใช้สำนักงาน ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังอาจต้องใช้เงินเป็น “ค่าใช้จ่ายก่อนดำเนินการ” เช่น

ค่าจดทะเบียน จัดตั้งบริษัท,ค่าแรงงานหรือเงินเดือนพนักงานเริ่มแรกที่เข้ามาเตรียมการ,ค่าเดินทาง,ค่าใช้สิทธิ ค่าธรรมเนียม ค่าสมัคร ต่างๆ ค่าสาธรณูปโภค เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ หรือ งานเปิดตัวกิจการ ฯลฯ

การใช้จ่ายเงินที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งที่จะต้องเกิดขึ้นก่อนการดำเนินการ ได้แก่ ส่วนที่เรียกว่าเป็น “เงินทุนหมุนเวียน” ที่ต้องจัดเตรียมไว้เพื่อให้กิจการพร้อมที่จะเริ่มทำการค้าขาย หรือ เริ่มเปิดดำเนินการได้ เช่น

ค่าวัตถุดิบเริ่มแรกที่ต้องเตรียมไว้ ค่าแรงงานที่ต้องใช้ในการผลิต สต็อกสินค้าที่ต้องเตรียมจำนวนให้เพียงพอก่อนการเปิดขาย เงินสดสำรอง เพื่อให้กิจการดำเนินไปได้โดยไม่ติดขัดในระยะเริ่มต้น ฯลฯ

แผนธุรกิจเริ่มใหม่ที่ดี จะต้องแสดงรายการต่างๆ เหล่านี้ให้ชัดเจน ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่าเจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการที่เขียนแผน มีข้อมูลหรือความรู้เกี่ยวกับตัวธุรกิจที่จะเริ่มทำเป็นอย่างดี

หากการวางแผนในส่วนของการลงทุนเริ่มแรกนี้ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ เมื่อลงมือดำเนินการจริง เจ้าของธุรกิจจะพบกับสภาวะ “บานปลาย” และ หาก “สายป่าน” ที่เตรียมไว้ไม่ยาวพอที่จะรองรับการ “บานปลาย” นี้ ตัวธุรกิจก็จะประสบกับปัญหาตั้งแต่ยังไม่เริ่มต้นเป็นชิ้นเป็นอันเลยทีเดียว

ดังนั้น ข้อมูลในส่วนของการใช้เงินก่อนดำเนินการนี้ จึงจำเป็นที่ต้องคิด “เผื่อไว้” ซึ่งจะดีกว่าการ “คิดไม่ครบ”

บางครั้ง “เถ้าแก่ใหม่” ก็อาจลืมคิดไปว่า “ป้ายชื่อร้าน” ก็ต้องใช้เงินเหมือนกัน ถ้าไม่ได้เตรียมเงินส่วนนี้ไว้ ก็อาจต้องเปิดร้านโดยที่ยังไม่มีป้ายชื่อร้าน ก็เป็นได้

เมื่อรวบรวมได้ว่า จะต้องใช้เงินทั้งหมด จำนวนเท่าไร เพื่อให้พร้อมสำหรับการเปิดขายในวันแรกแล้ว “แผนการลงทุน” จะต้องระบุต่อไปว่า เงินเหล่านี้จะได้มาจากไหน

แหล่งเงินทุนโดยทั่วไป มักจะแยกออกได้เป็น

เงินทุนของเจ้าของเงินทุนจากหุ้นส่วนหรือ ผู้ร่วมทุน และเงินกู้ยืม และเป็นที่แน่นนอนครับว่าเงินที่เกิดจาก “แหล่งที่มาของเงินทุน” และเงินที่เกิดจาก “แหล่งใช้ไปของเงินทุน” จะต้องเป็นจำนวนที่เท่ากัน

เพราะถ้า “แหล่งที่ได้มาของเงินทุน” มากกว่า ก็แสดงว่า มีการเอาเงินทุนมากองไว้เฉยๆโดยไม่ใช้

หรือ ถ้า “แหล่งที่ใช้ไปของเงินทุน” มากกว่าก็แสดงว่า เงินมีไม่พอสำหรับการเตรียมการเพื่อเริ่มต้นธุรกิจ

ดังนั้น ในการทำให้ “แผนการลงทุน” มีความถูกต้อง รัดกุม และครบถ้วน ผู้เขียนแผนควรจะใช้ตารางแสดงตัวเลขต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบกันให้เห็นได้ชัดเจน ตามตาราง

ตารางนี้นอกจากจะแสดงรายละเอียดของ “แผนการลลงทุน” แล้วยังจะแสดงให้เห็นความเหมาะสมของการใช้แหล่งเงินทุนด้วยว่า เงินจากเจ้าของ เงินจากหุ้นส่วน ควรนำไปใช้จ่ายในกิจกรรมประเภทใด เป็นต้น

แผนการเงินในแผนธุรกิจ

แหล่งใช้ไปของเงินทุน
แหล่งได้มาของเงินทุน
รวม

เงินของเจ้าของ
เงินจากหุ้นส่วน
เงินกู้ยืม


1.เงินลงทุนในทรัพย์สิน

............

รวมเงินลงทุนในทรัพย์สิน





2.ค่าใช้จ่ายก่อนดำเนินการ

............

รวมค่าใช้จ่ายก่อนดำเนินการ





3.เงินทุนหมุนเวียน

..........

รวมเงินลงทุนหมุนเวียน





รวมเงินลงทุนทั้งหมด











Total topics: 116
Total posts: 151
Total users: 2
 

 
 

Total, there have been 272357 visitors (549321 hits) on this page!

 

 
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free