ข้อแนะนำ 6 ประการ เพื่อหลีกเลี่ยงอุปสรรคที่อาจจะเกิดได้กับธุรกิจเริ่มใหม่
1. ศึกษาธุรกิจที่ท่านอยากจะทำให้ทะลุปรุโปร่งก่อนเริ่มทำ
การคิดเริ่มสร้างธุรกิจใดๆ ขึ้นมาเพียงด้วยความชอบ ความสนใจ หรือแม้กระทั่งการรับฟังมาจากคนอื่นว่าธุรกิจนั้นๆ ไปสู่ความสำเร็จได้ตามต้องการ
เถ้าแก่ใหม่ ควรให้ความสนใจศึกษาตัวธุรกิจที่จะทำในเชิงลึก และหากเป็นได้ ควรจะต้องหาทางที่จะไป “ฝึกงาน” จริง ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง
หากไม่มีโอกาสที่จะลงไม้ลงมือไปฝึกงานจริงๆ จะต้องใช้วิธีศึกษารายละเอียดธุรกิจด้วยการอ่าน การพบปะพูดคุยกับผู้มีประสบการณ์การทำธุรกิจนั้นๆ รวมไปถึงการไปสังเกตการณ์การทำธุรกิจจริงๆ อย่างใกล้ชิดด้วยตัวเองเป็นระยะดวลาพอสมควร
2. ต้องมีแผนธุรกิจเป็นของตัวเอง
การเขียนแผนธุรกิจสำหรับธุรกิจเริ่มใหม่จะเป็น “พิมพ็เขียว” หรือ “ป้ายชี้ทาง” ให้ธุรกิจใหม่ ดำเนินไปอย่างมีเป้าหมาย และหากจะเกิดความผันผวนใดๆ ขึ้น เถ้าแก่ใหม่ที่มีแผนธุรกิจของตนเอง ก็จะมี “เข็มทิศ” ที่จะคอยชี้บอกว่า เส้นทางเดินได้เฉไฉไปจากเป้าหมายเดิมมากน้อยอย่างไร
การไม่มี แผนธุรกิจ จะทำให้เถ้าแก่ใหม่ไม่รู้ตัวเองว่าปัจจุบันตัวเองอยู่ ณ ตำแหน่งใด ธุรกิจเป็นไปอย่างไร ทำให้ต้องทำธุรกิจไปอย่างไร้เป้าหมาย และอาศัยการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นแบบเฉพาะหน้าไปเป็นครั้งคราว เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดเท่านั้น
3. จัดเตรียม “สายป่าน” ให้พร้อม
การจัดหาเงินทุนในการสร้างธุรกิจใหม่เป็นเรื่องสำคัญสำหรับเถ้าแก่ใหม่ ที่จะต้องบริหารจัดการเพื่อให้มี “สายป่าน” ยืนยาวที่จะหล่อเลี้ยงธุรกิจตั้งแต่ระยะเริ่มต้นไปจนกว่าธุรกิจจะแข็งแรงและเดินต่อไปได้ด้วยตัวมันเอง
การบริหารจัดการเงินทุนสำหรับการดำเนินธุรกิจให้ดีนั้น จำเป็นที่ เถ้าแก่ใหม่ จะต้องมีความรู้พื้นฐานในเรื่องการไหลเวียนของเงินที่จะเกิดขึ้นในธุรกิจของตนเองอย่างดีพอสมควร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมองวงจรของการสร้างกำไรที่เป็นเงินสดกลับเข้ามาสู่กิจการให้ออกว่า มีกลไกสำคัญอย่างไร
เพราะหัวใจและเส้นเลือดที่จะหล่อเลี้ยงธุรกิจสำหรับธุรกิจขนาดย่อมก็คือ “เงินสด” นั่นเอง
การขาด “เงินสด” จะทำให้กิจการไม่สามารถจัดหาวัตถุดิบมาเพื่อจำหน่ายได้
การขาด “เงินสด” จำทำให้กิจการไม่สามารถชำระหนี้ได้
สูตรสำเร็จมีอยู่ว่า หากเถ้าแก่ใหม่ประมาณการเงินสดที่จะต้องนำมาลงทุนในธุรกิจใหม่ไว้จำนวนเท่าใด ท่านว่าให้จัดการเตรียมหา แหล่งเงินสนับสนุนเท่าใด ท่านว่าให้จัดการเตรียมหาแหล่งเงินสนับสนุนไว้อย่างน้อย 2 เท่าของจำนวนเงินที่คิดไว้
4. ศึกษาเรื่องบัญชีและหัดอ่านรายงานทางการเงินให้เป็น
การที่จะรู้ว่าผลประกอบการธุรกิจของท่านดีมากน้อยเพียงใด จะดูได้จากรายงานทางการเงินเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
การใช้ความรู้สึก หรือแม้กระทั่งการนั่งนับเงินสดที่มีอยู่ จะไม่สามารถบอกได้ว่ากิจการของท่านทำกำไรได้กี่บาท
เพราะการมีเงินสดในมือ อาจไม่จำเป็นที่จะสะท้อนถึงกำไรที่ทำได้จากธุรกิจก็ได้
ยกตัวอย่างเช่น เงินที่ได้จากการกู้ยืม ไม่ได้แสดงฐานะทางการเงินเป็นทรัพย์ของกิจการ แต่จะไปปรากฏอยู่ในส่วนของหนี้สินเป็นต้น
ดังนั้น เถ้าแก่ใหม่จึงควรให้ความสนใจเกี่ยวกับวิธีการจดบันทึกกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการทำธุรกิจ
ซึ่งก็ได้แก่การจัดให้มีระบบบัญชีที่เหมาะสม สำหรับกิจการของตนนั่นเอง
5.เรียนรู้เรื่องคนและการบริหารจัดการคน
การทำธุรกิจไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเกี่ยวข้องกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า ผู้บริโภค หรือ บุคคลที่ต้องเข้ามาช่วยเราในการทำธุรกิจ ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการทำให้การทำให้ธุรกิจเดินไปสู่เป้าหมายตามที่เถ้าแก่ได้ตั้งความหวังไว้
ดังนั้นการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของคน การรู้วิธีการกระตุ้น ให้กำลังใจ และการจูงใจให้เกิดการทำงานในทิศทางที่เราต้องการ จะเป็นส่วนช่วยให้เถ้าแก่ใหม่ไม่ต้องเผชิญปัญหาที่ไม่คาดคิดที่จะเกิดขึ้นจากบุคลากรต่างๆ ที่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับธุรกิจของเราได้
6.รู้จักปรับตัวเองให้เข้ากับสภาวะแวดล้อม
การเริ่มต้นธุรกิจบางครั้งเป็นเรื่อวที่ต้องใช้เวลานาน เจ้าของกิจการจะต้องเผชิญสถานการณ์ต่างๆ ที่แปรเปลี่ยนไปตลอดเวลาส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องทีไม่ได้คาดคิดมาก่อน ดังนั้น การรู้จักปรับตัวเพื่อรับกับความเครียดในการทำงาน การรู้จักแบ่งเวลา ใช้เวลาให้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเรื่องที่เถ้าแก่ใหม่ ควรมีการเตรียมตัวไว้ล่วงหน้า
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดูแลรักษาสุขภาพของตนเอล เพื่อให้พร้อมที่จะนำพาธุรกิจที่สร้างขึ้นมากับมือให้ไปสู่ความสำเร็จได้ด้วยมือของตัวเอง
|