fiatja (151 posts so far) | | คำศัพท์พื้นฐานที่ชาว PSP ต้องทราบ โดยเฉพาะมือใหม่
1. PSP [Playstation Portable]
2. FW [Firmware]
3. OFW [Official Firmware]
4. CFW [Custom Firmware]
5. UMD [Universal Media Disc]
6. ISO / CSO
7. MS [Memory Stick]
8. EBOOT.PBP
9. Down/Up FW [Downgrade Firmware/Upgrade Firmware]
10. XMB [Cross Menu Bar]
11. CXMB [Custom Cross Menu Bar]
12. PTF [PSP Theme File]
13. RCM [Recovery Mode]
14. Plugin
15. Cwcheat
16. SVCapture
17. VSH
18. Shutdown
19. Hard Shutdown
20. Sleep Mode
21. Restart
22. Flash0
23. Flash1
24. Format Flash1
25. Brick
26. Semi Brick
27. Pandora
28. PMP [PSP Media Player]
29. MP4 [MPEG-4 Part 14]
30. Homebrew
31. Root [MS Root]
32. Bit [Bittorrent]
33. Emu [Emulator]
1. PSP [Playstation Portable]
เครื่องเล่นเกมส์ของบริษัทโซนี่ ที่เน้นรูปแบบของเครื่องเล่นเกมส์แบบพกพา
รูปร่างหน้าตาก็แบบที่เราๆท่านๆมีกันในครอบครองหรือกำลังอยากเป็นเจ้าของนี่แล
ซอฟแวร์ หรือตัวเกมส์ที่ใช้กับเครื่อง PSP จะอยู่ในรูปของแผ่น UMD ที่เราเรียกกันติดปากว่า แผ่นแท้
แต่ปัจจุบัน มีผู้พัฒนาให้สามารถอ่านเกมส์จากไฟล .iso ที่บรรจุลงใน Memory Stick แทนการใช้แผ่น UMD
หรือที่เราเรียกกันว่า เล่นก๊อบ นั่นเอง จึงเป็นที่นิยมของนักเล่น PSP หมู่มากเพราะไม่ต้องซื้อหาแผ่น UMD ที่ราคาสูง
2. FW [Firmware]
คือระบบประฏิบัติการของเครื่องเล่นเกมส์ PSP
เครื่อง PSP ทุกเครื่องจำเป็นต้องมี FW เพื่อให้เครื่องสามรถทำงานได้
สามารถเปรียบเทียบได้กับทำนองที่คอมพิวเตอร์ ต้องมีการลง Window, Linux หรือ MacOS ไว้เพื่อให้อุปกรณ์นั้นสามารถทำงานต่างๆได้
วิธีเช็ค FW ของเครื่อง PSP นั้นๆ สามารถเช็คได้ที่
Setting > System Setting > System Information
โดยปัจจุบัน FW จะมีการพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆจากทาง Sony
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของตัวเครื่อง PSP
และยังเป็นการยับยั้งปัญหาการใช้ซอฟแวร์เกมส์ที่ละเมิดลิขสิทธิอีกทางหนึ่ง
จึงทำให้มี FW แบ่งออกเป็น 2 ประเภทในปัจจุบันคือ OFW และ CFW
3. OFW [Official Firmware]
คือระบบประฏิบัติการของเครื่องเล่นเกมส์ PSP ที่เป็นตัวต้นฉบับของแท้จากทาง Sony โดยตรง
จะเป็น FW ที่มีติดอยู่กับเครื่อง PSP ทุกเครื่องตั้งแต่ออกจากโรงงาน Sony มา
ซึ่ง FW ประเภทนี้จะไม่สามารถเล่นเกมส์ .iso จาก memory stick ได้
สามารถเล่นเกมส์ได้จากแผ่น UMD แท้เท่านั้น
พูดง่ายๆคือ เล่นแท้อย่างเดียว เล่นก๊อบไม่ได้
ลักษณะของ OFW จะเป็นตัวเลขรุ่น และไม่มีตัวอักษรใดๆตามหลังเช่น 2.71 หรือ 3.72
4. CFW [Custom Firmware]
คือระบบประฏิบัติการของเครื่องเล่นเกมส์ PSP ที่ดัดแปลง แก้ไขมาจากตัว OFW อีกทีโดย Hacker ชาติต่างๆ
เพื่อมุ่งหวังให้เครื่อง PSP นั้นๆสามารถอ่านไฟล .iso ซึ่งคัดลอกข้อมูลจากแผ่น UMD ลงมาบรรจุไว้ใน memory stick แทน
ดังนั้น CFW จึงมีจุดประสงค์ในการทำเพื่อ เล่นก๊อบ นั่นเอง ทำให้ผู้เล่นไม่จำเป็นต้องซื้อแผ่น UMD แท้มาเล่นกับเครื่อง PSP
สิ่งที่ต้องลงทุนหลักๆก็คือ Memory Stick สำหรับบรรจุไฟล .iso
ลักษณะของ CFW จะเป็นตัวเลขรุ่น และมีตัวอักษรตามหลังเช่น 3.40OE-A หรือ 3.71M33-3
5. UMD [Universal Media Disc]
คือแผ่นบันทึกข้อมูล ที่มีความจุโดยประมาณที่ 1.8 GB
เป็นแผ่นบรรจุข้อมูลที่เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะสำหรับบริษัท Sony โดยข้างในจะบรรจุเกมส์ หรือภาพยนต์เอาไว้
เพื่อนำไปใช้กับเครื่อง PSP หรือที่เราเข้าใจกันก็คือ แผ่นเกมส์ หรือ แผ่นหนัง สำหรับ PSP นั่นเอง
ในปัจจุบัน ยังไม่มีการผลิต แผ่นก๊อบ ของ UMD ออกมาอาจจะเนื่องจากปัญหาด้านต้นทุนที่สูง
จึงทำให้ ณ เวลานี้ ยังไม่มีคำว่า แผ่นก๊อบ สำหรับเครื่อง PSP แต่มีเพียงการจำลองข้อมูลต่างๆใน UMD
ออกมาในรูปของไฟล .iso และนำไฟล .iso นั้นไปบันทึกใน memory stick เพื่อเรียกใช้แทนการใช้ UMD แท้ๆ
6. ISO / CSO
จริงๆแล้ว iso คือไฟล Media Image หรือไฟลจำลองข้อมูลต่างๆประเภทหนึ่ง
ซึ่งโดยปกติแล้วจะจำลองมาจากสื่อบันทึกจำพวก แผ่น CD หรือ DVD โดยตรง
เหตุผลก็เพื่อต้องการแปลงให้แผ่น CD หรือ DVD ที่เป็นรูปธรรมนั้น
กลายมาเป็นไฟลที่มีนามสกุลไฟล .iso หรือในรูปของนามธรรมแทนแผ่น CD หรือ DVD ที่จับต้องได้นั่นเอง
ในวงการของ PSP ไฟล .iso เข้ามามีบทบาทในเรื่องของการจำลองข้องมูลในแผ่น UMD
เพื่อที่จะนำไปใช้กับ CFW ทำให้สามารถเล่นเกมส์ หรือภาพยนต์ต่างๆของ PSP
โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีแผ่น UMD แท้ของเกมส์นั้นๆ
สรุป การใช้ไฟล .iso เล่นกับเครื่อง PSP จึงเท่ากับที่เราเรียกกันติดปากว่า เล่นเก๊อบ นั่นเอง
โดยแทนที่จะอ่านจากแผ่น UMD โดยตรง ก็นำ .iso ไฟลนั้นไปใส่ใน Memory Stick แล้วเรียกใช้แทน
ส่วน CSO นั้นก็คือรูปแบบหนึ่งของไฟล ISO แต่มีการบีบอัดให้มีขนาดไฟลที่เล็กลง
เพื่อการใช้เนื้อที่เม็มให้น้อยลง แต่มีวิธีใช้เหมือนกันทุกประการ
7. MS [Memory Stick]
เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลรูปแบบหนึ่งที่เป็นแบบเฉพาะของ Sony
ปัจจุบันมีการผลิตออกมาหลายแบบ แต่แบบที่ใช้กับเครื่อง PSP จะเรียกว่า Memory Stick Pro Duo
ซึ่งมีให้เลือกทั้งแบบธรรมดา และแบบ HiSpeed ที่มีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลสูงกว่า
MS มีหน้าที่เก็บข้อมูลต่างๆที่ใช้ในเครื่อง PSP เช่น รูปภาพ รูปถ่าย เซฟของเกมส์ต่างๆ ไฟลภาพยนต์นามสกุล .mp4 และ ไฟล .iso
ถ้าเราเปรียบ PSP เป็นคอมพิวเตอร์ MS จะมีค่าเท่ากับ Hard Drive ของ PSP
ดังนั้น การที่เรามี MS ที่มีความจุสูงก็จะสามารถเก็บเกมส์ .iso รูปภาพ หรือไฟลภาพยนต์ได้เยอะ
แต่ราคาก็จะสูงขึ้นเช่นกัน ดังนั้นจึงควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับความต้องการของเราเอง
วิธีเช็คว่าเม็มนั้นๆเป็นของแท้หรือไม่
ให้เข้าที่ Game > Memory Stick กดสามเหลี่ยม เลือก Information
ดูหัวข้อ Magic Gate ว่า Support หรือไม่ ถ้า Support คือเม็มแท้ ถ้าเป็น UnKnow หรือ อื่นๆคือเม็มปลอม
8. EBOOT.PBP
คือไฟลสำหรับเปิดโปรแกรมต่างๆใน PSP เท่าที่ผมเข้าใจน่าจะเปรียบเทียบได้กับ .exe ในคอมพิวเตอร์ PC
เราจะเห็น EBOOT.PBP เกี่ยวข้องกับ PSP ในรูปของโปรแกรมต่างๆ อาธิเช่น ไฟลที่ใช้สำหรับ Up-Down FW
หรือไฟล Emulater ของเครื่องเล่นต่างๆที่เล่นผ่านเครื่อง PSP
แต่โดยปกติแล้ว พวกเราจะคุ้นหน้าไฟล EBOOT.PBP นี้ในเรื่องของการเล่นเกมส์ PS1 บนเครื่อง PSP
ซึ่งจะใช้วิธีการแปลงไฟล .iso ที่จำลองมาจากแผ่น CD ของเกมส์จากเครื่อง PS1
มาเป็นรูปของไฟล EBOOT.PBP
แล้วนำไฟล EBOOT.PBP ที่ได้จากการแปลงนั้น ไปใส่ใน MS แล้วเล่นผ่าน PSP
9. Down/Up FW [Downgrade Firmware/Upgrade Firmware]
คือขั้นตอนการ ลด-เพิ่ม รุ่นของ FW ปัจจุบัน เพื่อเปลี่ยนไปยังรุ่นที่ เก่า-ใหม่ กว่าเดิม
โดยที่ต้องเข้าใจก่อนว่า ทาง Sony ก็จะมีการอัพ OFW แท้ๆของเขาเรื่อยๆ
เพื่อป้องกันไม่ให้ CFW เก่าๆสามารถเล่นเกมส์ใหม่ๆที่ออกมาได้
โดยที่คนที่เล่น OFW และเล่น UMD แท้นั้นจะไม่มีปัญหาเนื่องจาก ในแผ่นเกมส์ UMD เกมส์ต่างๆจะมีตัวอัพเกรด OFW ติดมาให้เสมอๆ
คนที่เล่น UMD แท้จึงสามารถอัพเกรด FW จากแผ่นที่ซื้อมาได้เลย จึงเล่นเกมส์ใหม่ๆได้โดยไม่มีปัญหา
แต่คนที่เล่น CFW แบบเล่น .iso จากเม็ม จึงต้องคอยตามข่าวการอัพเกรด CFW จาก Hacker ท่านต่างๆ
เพื่อให้สามารถเล่นเกมส์ใหม่ๆได้ทัดเทียมกับ OFW
การ Downgrade นั้น ส่วนใหญ่จะใช้กับการแก้ไขเครื่องที่ FW มีปัญหา
โดย Down ลงไปรุ่นที่ต่ำกว่าแล้วอัพกลับขึ้นมาอีกที ทำนองเดียวกับการลง Window ใหม่ใน PC เพื่อให้ได้ค่าต่างๆใหม่ที่ไม่มีอาการเสียหายเดิมอยู่
และอีกกรณีคือการแก้ไข OFW บางรุ่นเช่น 2.71 เป็น CFW จำเป็นจะต้อง down ลงไปที่รุ่น 1.5 ก่อนแล้วค่อยอัพเป็น CFW รุ่นใหม่ต่างๆ
10. XMB [Cross Menu Bar]
คือหน้าจอของระบบประฏิบัติการ ลิขสิทธิ์เฉพาะของ Sony
ที่ใช้กับอุปกรณ์ต่างๆของ Sony เช่น PS3 และ PSP
เปรียบได้กับหน้าจอของ PC หรือ Desktop
พูดให้เข้าใจง่ายๆคือ XMB ก็คือหน้า Desktop ของ PSP นั่นเอง
โดยที่รูปแบบ หน้าตาของ XMB แบบต่างๆจะเรียกว่า Theme
ซึ่งสามารถเปลี่ยงแปลงได้หลากหลายตามต้องการ
11. CXMB [Custom Cross Menu Bar]
คือการแก้ไข หน้าตาของ XMB ให้มีรูปแบบตามที่ต้องการ
โดยการแก้ไข Theme ต้นฉบับของ PSP ผ่านทางไฟลที่ควบคุม Theme ใน Flash0
ดังนั้น ผู้ที่จะทำต้องมีความเข้าใจและชำนาญการแก้ไข Flash0
มิเช่นนั้น Flash0 อาจเสียหายและเครื่อง PSP ก็จะ Brick ในที่สุด
12. PTF [PSP Theme File]
คือไฟลที่เป็นเซ็ทของ รูปแบบของ XMB สำหรับเปลียนหน้าตา XMB ให้เป็นแบบอื่นๆตามที่ต้องการ
การใช้ PTF เพื่อเปลี่ยน Theme จะให้ผลเท่ากับการทำ CXMB แต่จะมีความปลอดภัยสูงมาก
เพราะไม่ต้องเข้าไปแก้ไขอะไรใน Flash0 เลย แต่สามารถใช้ได้กับ FW รุ่น 3.71 ขึ้นไปเท่านั้น
สำหรับรุ่นที่ต่ำกว่า 3.71 ต้องใช้วิธี CXMB เท่านั้น
การใช้งานไฟล PTF สามารถทำได้โดยนำไฟล .ptf ที่ได้มาไปใส่ไว้ที่โฟลเดอร์ /PSP/THEME
จากนั้นสามารถเลือกเปลี่ยนรูปแบบต่างๆได้ที่ Setting > Theme Setting บนหน้าจอ XMB
13. RCM [Recovery Mode]
เป็นของคู่กันกับ CFW และแน่นอนว่า Recovery Mode นี้จะไม่มีอยู่ใน OFW
RCM คือส่วนที่ใช้ปรับแต่งค่าต่างๆของตัวเครื่อง PSP
อาธิเช่น การตั้งให้ไม่แสดงหน้าจอโลโก้ Sony Entertainment ตอนที่เปิดเครื่อง
การตั้งความเร็วของ CPU เครื่องให้มีความเร็วในการอ่าน UMD หรือ ISO ตามต้องการ การตั้งความเร็วของการทำงานบนหน้าจอ XMB
รวมถึงการเข้าไปเพื่อเปิด-ปิด Plugin ต่างๆของเครื่อง PSP ก็ต้องเข้ามากระทำการใน RCM นี้
การเข้า RCM สามารถทำได้โดยการปิดเครื่องให้สนิทก่อน [ดันปุ่ม Power ขึ้นค้างไว้จนเครื่องดับ]
จากนั้นกดปุ่ม R ค้างเอาไว้และเปิดเครื่องอีกครั้ง จนกว่าจะเห็นหน้าจอ RCM จึงค่อยปล่อยปุ่ม R
14. Plugin
คือโปรแกรมเสริม เล็กๆ ที่เพิ่มเข้าไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ PSP ให้มากขึ้น
อาธิเช่น Cwcheat, SVCapture, VSH และอื่นๆ
การเปิด-ปิด Plugin หลังจากลงไว้แล้ว สามารถเข้าไปจัดการได้ในโหมด RCM
ไฟลต่างๆของ Plugin จะถูกเก็บไว้ที่โฟลเดอร์ /seplugin ที่ Folder นอกสุดของเม็ม
15. Cwcheat
คือ Plugin ยอดนิยมที่ใช้สำหรับใส่โค๊ตโกงเกมส์ สำหรับเครื่อง PSP
เปรียบเทียบได้กับ Action Replay ในสมัยก่อนโน้นที่ใช้กับ PS1
เช่นเดียวกัน AR2 ARMax และ Code Breaker ที่ใช้กับ PS2
16. SVCapture
เป็น Plugin ที่ใช้สำหรับจับภาพที่แสดงผลอยู่ ณ เวลานั้นบนหน้าจอ PSP
แล้วเซฟออกมาเป็นไฟลรูปภาพ และบันทึกเอาไว้ในเม็ม เพื่อนำมาใช้ตามต้องการ
17. VSH
เป็น Plugin ที่แสดงผล ตัวเลือกข้างในโหมด RCM บางข้อ ให้แสดงผลได้ทันทีบนหน้า XMB
ซึ่งจะมีประโยชน์ตรงที่ทำให้เราสามารถแก้ไขค่าต่างๆในโหมด RCM โดยที่ไม่ต้องเข้าไปในโหมด RCM
เช่นการปรับแต่งความเร็วเครื่อง หรือการสั่ง Shutdown, Sleep Mode หรือ Restart
18. Shutdown
คือการปิดเครื่อง PSP แบบที่ปิดสนิทจริงๆ จบการทำงานทุกอย่าง ณ เวลานั้น
ทำได้โดยการเลื่อนปุ่ม Power ทางด้านขวามือของเครื่องขึ้น และดันค้างเอาไว้จนกว่าเครื่องจะดับ
ซึ่งสามารถใช้ VSH Menu ในการสั่งได้สำหรับ FW ใหม่ๆที่ลง VSH Plugin แล้ว
19. Hard Shutdown
คือการปิดเครื่อง PSP แบบที่ปิดสนิทจริงๆ จบการทำงานทุกอย่าง ณ เวลานั้น
แต่ต่างจากการ Shut Down ปกติตรงที่จะใช้เมื่อเครื่องเกิดอาการค้างไปเฉยๆ โดยที่ไม่สามารถกด Home ออกมาที่หน้า XMB ได้
วิธีการ Hard Shutdown ทำได้โดยการเลื่อนปุ่ม Power ทางด้านขวามือของเครื่องขึ้น และดันค้างเอาไว้จนกว่าเครื่องจะดับ
โดยที่จะใช้เวลาในการดันค้างนานกว่าการ Shut Down ปกตินิดหน่อย [ราวๆ 5 วินาทีโดยประมาณ]
20. Sleep Mode
คือการปิดเครื่อง PSP แต่ไม่ปิดโปรแกรมหรือเกมส์ต่างๆที่กำลังทำงานอยู่ ณ เวลานั้น
โดยจะมีการใช้งานพลังงานของแบ็ตเตอรี่เล็กน้อย
และเมื่อเรากลับมาใช้เครื่องอีกครั้ง สามารถเล่นเกมส์ หรือใช้งานโปรแกรมต่างๆต่อเนื่องจากที่เข้า Sleep Mode ได้ทันที
การเข้าสู่ Sleep Mode สามารถทำได้โดยการดันปุ่ม Power ขึ้นเพียงครั้งเดียวและไม่ต้องดันค้างไว้
หน้าจอเครื่องจะดับไปเอง และถ้าต้องการออกจาก Sleep Mode ก็ให้ดันปุ่ม power ขึ้นและไม่ต้องค้างอีกครั้ง
สามารถใช้ VSH Menu ในการสั่งได้สำหรับ FW ใหม่ๆที่ลง VSH Plugin แล้ว
21. Restart
คือการปิดเครื่องแล้ว เปิดเครื่องอีกครั้งตามปกติ
โดยต้องปิดเครื่องแบบ Shutdown ไม่ใช่ Sleep Mode แล้วเปิดเครื่องอีกครั้งตามปกติ
ซึ่งสามารถใช้ VSH Menu ในการสั่งได้สำหรับ FW ใหม่ๆที่ลง VSH Plugin แล้ว
22. Flash0
คือหน่วยความจำที่ติดอยู่กับตัวเครื่อง PSP
พอจะเทียบเคียงได้กับ Drive C ของเครื่อง PC
ใช้สำหรับเก็บข้อมูลสำคัญๆของเครื่อง PSP เช่น FW
เป็นส่วนที่ควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษมากๆ และไม่ควรเข้าไปแก้ไขอะไรโดยที่ไม่มีความรู้
เพราะจะทำให้เครื่องเสียหาย จนถึงขั้นไม่สามารถกู้กลับมาให้ใช้งานได้ หรือ Brick
การเข้าสู่ส่วนของ Flash0 สามารถทำได้โดยการเข้า RCM เลือก Toggel USB Flash0
จากนั้นต่อสาย USB จาก PSP เข้ากับ PC
จะเห็นโฟลเดอร์ดีดขึ้นมา พร้อมข้อมูลของ Flash0 ข้างใน
23. Flash1
คือส่วนที่เก็บการตั้งค่าต่างๆของเครื่อง PSP
พอจะเทียบได้กับ Registry ของ Window บน PC
การเข้าสู่ส่วนของ Flash1 สามารถทำได้โดยการเข้า RCM เลือก Toggel USB Flash1
จากนั้นต่อสาย USB จาก PSP เข้ากับ PC
จะเห็นโฟลเดอร์ดีดขึ้นมา พร้อมข้อมูลของ Flash1 ข้างใน
24. Format Flash1
ในบางครั้ง เมื่อเราใช้งานเครื่อง PSP ไประยะหนึ่ง
Flash1 อาจมีอาการรวนได้บ้าง ซึ่งอาจจะเกิดจากการทำ Hard Shutdown หรืออื่นๆ
จึงต้องมีการทำการ Format Flash1
โดยสามารถทำได้โดย
เข้า RCM > Advance > Format Flash1 and Reset All Setting
จากนั้นออกจาก Recovery Mode
เมื่อเครื่อง Restart แล้วจะ Blue Screen 1 ครั้ง กดตกลงไป
เมื่อเครื่อง Restart อีกหนึ่งครั้ง จะได้ตั้งค่าเครื่องใหม่เป็นอันเสด
ในกรณีที่ FW เก่าหน่อย และไม่มีคำสั่ง Format Flash1 เอาไว้ให้ใน RCM
ให้เข้า RCM > Toggle USB Flash1 ต่อสายกับ PC
จะเห็นโฟลเดอร์ดีดขึ้นมา ในนั้นมีไฟล config อยู่ 1 ไฟล ลบไฟลนั้นทิ้งไฟลเดียว
แล้วออกจาก PC และ Recovery Mode
เมื่อเครื่อง Restart แล้วจะ Blue Screen 1 ครั้ง กดตกลงไป
เมื่อเครื่อง Restart อีกหนึ่งครั้ง จะได้ตั้งค่าเครื่องใหม่เป็นอันเสด
ข้อควรระวัง การ Format Flash1 ไม่ใช่การคลิกขวาที่ไดรฟของ Flash1 ทาง PC แล้วเลือกคำสั่ง Fomat
ดังนั้นห้ามทำเด็จขาด เพราะอาจทำให้เครื่อง PSP ของคุณ Flash1 เสียแบบถาวรได้
25. Brick
คืออาการของเครื่อง PSP ที่เสียหายจนไม่สามารถใช้การได้
และมีสภาพไม่ต่างกับก้อนอิฐ 1 ก้อนตามชื่อเรียกอาการ
โดยปกติแล้วจะใช้เรียกเฉพาะกับกรณีที่เสียหายในส่วนของ FW ซึ่งอาจจะเกิดจากการใช้โดยขาดความเข้าใจ
หรือการผิดผลาดระหว่างการแก้ FW ไม่ว่าจะเป็นการ Up หรือ Down
ดังนั้น การ Up หรือ Down FW จะมีความเสี่ยงต่อการ Brick จึงต้องทำอย่างมั่นใจและมีสติเสมอ
ส่วนอาการเสียหายที่เกิดจากการแตก หัก ชำรุดของเครื่อง PSP จะไม่ใช้คำว่า Brick
26. Semi Brick
คืออาการของเครื่อง PSP ที่เสียหายในส่วนของ FW คล้ายกับการ Brick
แต่ยังพอจะสามารถหาทางแก้กลับมาได้ โดยช่าง&# |