9.Process Description

   
 


 

 

Home

Board-Forum-Diary

Administrator

ASP

Business Manage

Computer Basic

Computer Hardware

Computer Software

Computer Tip

Computer Virus

Contact

Database

Firefox

Gallery

Game

HI5 ME!

Link

Project Demo

System Analysis

=> 1.basic

=> 2.important

=> 3.Life Cycle

=> 4.Survey System

=> 5.DFD components

=> 6.DFD to write

=> 7.DFD create

=> 8.Data Dictionary

=> 9.Process Description

=> 10.Flowchart

=> 11.Design Output

=> 11.Selection Output

=> 12.Design Print Report

=> 13.Design Output Monitor

=> 14.Design Input

=> 15.Design Database

=> 16.Security System

=> 17.Repeat System

=> 18.Prototype

=> 19.Type Prototype

=> 20.Line Dev Prototype

=> 21.+ & - for Prototype

=> 22.Check Plan

Website

Food & Drink

SkyDrive

MS-word

MS-excel

Mobile

Drug

Clock

Car & Motorcycle

Download

 


     
 

การอธิบายการประมวลผล
เนื้อหา
• การอธิบายการประมวลผล
• ประโยคโครงสร้าง
• วิธีการตัดสินใจแบบตาราง

การอธิบายการประมวลผล (Process Description)
การวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้โดยการใช้แผนภาพการไหลของข้อมูล (Data Flow Diagram) โดยการเขียนสัญลักษณ์การประมวลผลนั้นจะเขียนเพียงหัวข้อในการประมวลผลเท่านั้น ยังไม่มีการเขียนคำอธิบายโดยละเอียด ซึ่งเราสามารถเขียนอธิบายโดยละเอียดได้ด้วยการเขียนคำอธิบายการประมวลผล (Process Description) หรือ Process Specification

จุดประสงค์ของการเขียน Process Specification เพื่อใช้เป็นสื่อระหว่างผู้ใช้ระบบโปรแกรมเมอร์ และนักวิเคราะห์ระบบ ได้เข้าใจตรงกันในการประมวลผลนั้น โดยโปรแกรมเมอร์จะเข้าใจการประมวลผลนั้นเพื่อใช้ในการเขียนโปรแกรม โดยเฉพาะในกรณีของการมีโปรแกรมเมอร์หลายคนในการเขียนโปรแกรมในการสื่อให้เข้าใจตรงกัน ส่วนผู้ใช้ระบบจะได้เห็นถึงผลการวิเคราะห์ของนักวิเคราะห์ระบบว่าเข้าใจถูกต้องหรือไม่

จุดมุ่งหมายในการใช้การอธิบายการประมวลผลนั้นสรุปได้ 3 ข้อคือ

1. เพื่อให้การประมวลผลนั้นชัดเจน เข้าใจง่าย
การใช้วิธีนี้จะทำให้ผู้วิเคราะห์ได้เรียนรู้รายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอน ในการประมวลผลการทำงานในส่วนที่ไม่ชัดเจนต่างๆ จะถูกบันทึก และเขียนออกมาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยจะรวมมาจากการสืบค้นข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นข้อมูลวิธีต่างๆ

2. เพื่อให้เกิดความเข้าใจถูกต้องในการอธิบายในรูปแบบเฉพาะของการ
ประมวลผลนั้นระหว่างนักวิเคราะห์ระบบและโปรแกรมเมอร์
ในการสื่อถึงกันให้เข้าใจตรงกันระหว่างนักวิเคราะห์และโปรแกรมเมอร์นั้น ถ้าไม่สื่อกันให้ชัดเจนจะมีผลตามมาอย่างมากเมื่อลงรหัสโปรแกรม เนื่องจากจะต้องเสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย และอาจทำให้การบริหารโครงการไม่เป็นไปตามกำหนดเวลาอีกด้วย ดังนั้น ในการอธิบายการประมวลผลจึงมีส่วนช่วยอย่างมากใน การสื่อการประมวลผลให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ระหว่างนักวิเคราะห์ระบบและโปรแกรมเมอร์

3. เพื่อตรวจสอบการออกแบบระบบ
โดยการประมวลผลนั้นจะถูกต้องหรือไม่ในด้านข้อมูลที่ป้อนเข้าเครื่อง การออกรายงานทั้งหน้าจอ และการพิมพ์รายงานนั้นจะเป็นไปตามการวิเคราะห์ตามแผนภาพการไหลของข้อมูล (Data Flow Diagram) หรือไม่ จะสามารถตรวจสอบได้จากการอธิบายการประมวลผลนี้

การเขียนคำอธิบายการประมวลผลนี้จะมีเฉพาะโพรเซสในระดับล่างสุดเท่านั้น ระดับแม่เราจะไม่เขียนคำอธิบายเนื่องจากเราเขียน DFD ระดับแม่เพื่อใช้เป็นเครื่องมือเขียน DFD ระดับลูกเพื่อให้เกิดการแตกโครงสร้างแบบบน-ลง-ล่าง (Top - Down) และเมื่ออธิบายโพรเซสระดับลูกแล้วก็หมายความรวมถึงการทำงานระดับแม่โดยปริยาย

วิธีการที่ใช้อธิบายการประมวลผลที่จะกล่าวในที่นี้มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธีคือ
1. ประโยคโครงสร้าง (Structure Sentences)
2. การตัดสินใจแบบตาราง (Description Tables

เราจะเลือกใช้วิธีการอันใดอันหนึ่งหรือใช้ปนกันก็ได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม แต่ไม่ว่าจะเขียนด้วยวิธีใดๆ เมื่อเขียนแล้วควรจะมีคุณสมบัติ ดังนี้

• เขียนแล้วคำอธิบายนั้นสามารถนำมาตรวจสอบความถูกต้องกับผู้ใช้ได้ง่ายการเขียนเป็นประโยค โครงสร้างอาจจะไม่เหมาะสมถ้าต้องนำมาตรวจสอบกับผู้ใช้เพราะว่าคำอธิบาย นั้นจะยาวและคำอธิบายเกี่ยวกับเงื่อนไข หรือการทำงานซ้ำก็เขียนไม่สะดวก ตัวอย่างเช่น เงื่อนไขที่มี AND,OR หรือ NOT เป็นต้น

• เขียนแล้วคำอธิบายนั้นควรจะใช้สื่อสารกับผู้อื่นที่เกี่ยวข้องในระบบได้ง่ายผู้อื่นที่เกี่ยวข้องอาจจะเป็นผู้ใช้ ผู้จัดการ ผู้ตรวจสอบ เป็นต้น การเขียนคำอธิบายเป็นประโยคโครงสร้าง หรือเขียนเป็นการตัดสินใจแบบตารางจะเหมาะสมกับบุคคลเหล่านั้นเพราะว่าทั้ง 2 วิธีนั้นง่ายต่อการทำความเข้าใจถึงแม้ว่าอาจจะยาวไปหน่อยก็ตาม

โดยทั่วไปแล้ววิธีการเขียนแบบประโยคโครงสร้างเป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุด และในโครงการเดียวกันควรจะเลือกใช้วิธีเดียวกันเพื่อให้ง่ายต่อการสื่อสาร การจะเลือกใช้วิธีการมากกว่าหนึ่งวิธีก็อาจจะเป็นไปได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
1. ความชอบของผู้ใช้
2. ความชอบของผู้เขียน (นักวิเคราะห์ระบบ)
3. ลักษณะการทำงานของโพรเซส


ประโยคโครงสร้าง (Structure Sentence)
วิธีนี้ใช้การอธิบายเป็นประโยคโดยเขียนให้มีลักษณะเป็นโครงสร้าง คล้ายๆ การเขียนโปรแกรมโครงสร้างดังตัวอย่างข้างต้น การเขียนประโยคโครงสร้างเราใช้คำศัพท์ต่างๆ กัน ซึ่งอาจจะเลือกใช้คำต่างๆ กันได้ ดังนี้

• ใช้คำกริยาที่เมื่อทำแล้วมีความหมายว่าได้ผลลัพธ์บางอย่างออกมา เช่น "คำนวณ" สิ่งนั้นสิ่งนี้หรือ "เปรียบเทียบ" สิ่งนั้นกับสิ่งนี้ เป็นต้น คำกริยาที่อาจจะเลือกใช้ได้ เช่น
GET , COMPUTE, PUT, DELET, FIND, VALIDATE,DIVEIDE
ADD, MOVE, SUBTRACT, REPLACE, MULTIPLY, SET,SORT

• ใช้ชื่อข้อมูลเป็นคำนามในประโยค ตัวอย่างเช่น วันชำระเงินใบทวงหนี้ รายงานเพื่อเตรียมเงินสด เป็นต้น

• ใช้คำศัพท์ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล เช่น "และ" "หรือ" "เท่ากับ" "ไม่เท่ากับ" "มากกว่า" และ "น้อยกว่า" เป็นต้น

• ใช้คำที่บอกการเคลื่อนที่ของข้อมูลคล้ายกับคำที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมได้แก่
1. ถ้า……..มิฉะนั้น (If……else……..)
2. กรณี…. (case)
3. ทำซ้ำ (Do…..Loop)
4. ทำตามลำดับ (Sequence)

ตัวอย่างที่ 1 ประโยคโครงสร้างที่ทำงานตามลำดับ
• อ่านข้อมูลจาก Employee
• คำนวณหาเงินเดือน
• ค่าจ้าง = จำนวนชั่วโมงที่ทำงาน X อัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง
• เงินเดือน = ค่าจ้าง X อัตราภาษี
• พิมพ์รายงานแสดงเงินเดือน

ตัวอย่างที่ 2 ประโยคโครงสร้างที่ทำงานตามลำดับและมีการใช้เงื่อนไข If…Else
ใช้ข้อมูล - A และข้อมูล - B เพื่อคำนวณข้อมูล - C
ตรวจสอบข้อมูล - C
If ข้อมูล - C
ให้เก็บในไฟล์
Else
ให้พิมพ์ข้อผิดพลาด
คำนวณผลรวม

ตัวอย่างที่ 3 ประโยคโครงสร้างที่ทำงานตามลำดับและมีการใช้เงื่อนไข Repeat….Until
Repeat
อ่านข้อมูลจาก Employee
คำนวณหาเงินเดือน
ค่าจ้าง = จำนวนชั่วโมงที่ทำงาน X อัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง
คำนวณหาเงินเดือน = ค่าจ้าง X อัตราภาษี
พิมพ์รายงานแสดงเงินเดือน
Until ไม่มีข้อมูล Employee
.
.
.

ตัวอย่างที่ 4 ประโยคโครงสร้างที่ทำงานตามลำดับและมีการใช้เงื่อนไข Do…Case
อ่านข้อมูลคะแนนรวม
Do คะแนนรวม
Case1 คะแนนรวม >=80
เกรด = A< br>
Case2 คะแนนรวม >=70
เกรด = B
Case3 คะแนนรวม >=60
เกรด = C
Case4 คะแนนรวม >=50
เกรด = D
End (ถ้าไม่ตรงกับทุกกรณี)
เกรด = E

การใช้ประโยคโครงสร้างสำหรับกรณีที่มีเงื่อนไข If…ELSE ซ้อนกันมากๆ นั้นไม่สะดวก เราอาจจะเขียนเป็นการตัดสินใจแบบตารางซึ่งจะง่ายกว่า


วิธีการตัดสินใจแบบตาราง (Decision Tables )
วิธีการตัดสินใจแบบตารางเป็นตารางแบบ 2 มิติ โดยที่แถวตั้งด้านซ้ายเป็นเงื่อนไข และแถวนอนเป็นรายละเอียดของเงื่อนไขและผลของการตัดสินใจ เงื่อนไขก็คือ สิ่งที่มีค่าเปลี่ยนแปลงได้ เช่น จำนวนเงินในใบทวงหนี้ ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่าควรตัดสินใจอย่างไร เช่น ถ้าจำนวนเงินต่ำกว่า 25,000 บาท ไม่ต้องรอการอนุมัติจ่ายเงิน เป็นต้น

เงื่อนไข
การตัดสินใจ

จำนวนเงินในใบทวงหนี้

< 25,000

อนุมัติจ่ายเงิน

Y

ในตัวอย่างการตัดสินใจแบบตารางข้างบนนี้ แถวตั้งเป็นเงื่อนไข หรือตัวแปรคือ จำนวนเงินในใบทวงหนี้ แถวนอนเป็นค่าตัวแปร คือ น้อยกว่า 25,000 บาท ดังนั้นการอนุมัติจ่ายเงินคือ " Y " ซึ่งหมายความว่า " Yes " คือ ให้จ่ายเงินได้ แต่ที่จริงแล้วค่าของจำนวนเงินที่เป็นไปได้มีมากกว่านี้ และเงื่อนไขก็มีมากว่านี้ด้วย ซึ่งพอสรุปออกมาเป็นตารางเงื่อนไขดังนี้

เงื่อนไข
ค่าที่เป็นไปได้

1. จำนวนเงินในใบทวงหนี้

a. น้อยกว่า 25,000

b. ระหว่างc. 25,000 ถึงd. 250,000

e. มากกว่า 250,000

2. วันค้างจ่าย

a. น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 วัน

b. มากว่า 10 วัน

3. ส่วนลดถ้าจ่ายเร็ว

a. มี

b. ไม่มี


ตารางที่ 4 แสดงตัวอย่างตารางตัดสินใจของการทวงหนี้

ดังนั้นตารางการตัดสินใจจะต้องขยายออกไปอีก หลักการตั้งตารางตัดสินใจเริ่มจากเงื่อนไขก่อนโดยที่จำนวนแถวนอนของตาราง จะมีเท่ากับจำนวนเงื่อนไขบวกหนึ่งสำหรับหัวตาราง จากตารางข้างบนนี้เรามี 3 เงื่อนไข เพราะฉะนั้นเราต้องสร้าง 4 แถวนอน สำหรับจำนวนแถวตั้งจะมีเท่ากับผลคูณของค่าตัวแปรที่เป็นไปได้ทั้งหมดบวก 1 แถว สำหรับเขียนคำอธิบาย ดังนั้นจำนวนแถวตั้งจะมีเท่ากับ 3 ( จำนวนค่าที่เป็นไปได้ของจำนวนเงินในใบทวงหนี้ ) คูณ 2 ( ค่าที่เป็นไปได้ของวันค้างจ่าย ) และคูณ 2 ( มีส่วนลดหรือไม่ ) บวกกับอีก 1 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 13 ดังตารางของเราจะมี 13 แถวตั้ง และ 4 แถวนอน

จากตารางตัดสินใจที่ได้มานั้นมันออกจะใหญ่เกินไป และมีหลายกรณีที่เงื่อนไขไม่มีความหมาย และให้ผลลัพธ์ออกมาเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น ถ้าจำนวนเงินน้อยกว่า 25,000 บาท เราไม่จำเป็นต้องสนใจเงื่อนไขวันค้างจ่ายหรือส่วนลด ดังนั้นเราอาจจะทำให้ตารางสั้นเข้าได้

เงื่อนไขที่ไม่ได้ใช้เราจะเขียนแทนด้วยเครื่องหมาย " - " ในแถวตั้งที่ไม่จำเป็นออก เราจะยุบแถวตั้งดังในตารางข้างล่างนี้

 

1

2

3

4

5

จำนวนเงินในใบทวงหนี้

< 25,000

25,000 – 250,000

25,000 – 250,000

25,000 – 250,000

> 250,000

วันค้างจ่าย

-

<= 10

<= 10

<= 10

-

ส่วนลด

-

Y

N

-

-

ตัดสินใจ

A

A

S

A

P

A = จ่ายเงิน
S = เก็บใจทวงหนี้ไว้รอการตัดสินใจ
P = พิมพ์รวมเพื่อเตรียมเงินสด

การเขียนตารางการตัดสินใจให้ผลออกมาเหมือนกับการเขียนด้วยประโยคโครงสร้างแต่การทำความเข้าใจสำหรับบุคคลหลาย ๆ คน อาจจะยากง่ายไม่เหมือนกัน ดังนั้นนักวิเคราะห์ระบบต้องตัดสินใจ ว่าจะใช้วิธีใดที่เหมาะสมที่สุด

สรุป
ประโยคโครงสร้างและตารางตัดสินใจเป็นเครื่องมืออธิบายการทำงานภายในของโพรเซส เราควรจะเลือกวิธีที่เขียนอธิบายการทำงานที่ดีและเหมาะสมกับงานนั้น ๆ

 
 

Total, there have been 252745 visitors (517840 hits) on this page!

 

 
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free